กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7495
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.advisorสมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.authorกิติศักดิ์ ดีพื้น
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:59:05Z
dc.date.available2023-05-12T03:59:05Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7495
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับสมรรถนะคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะคณิตศาสตร์ข้างต้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,021 คน และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 132 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ 1 ฉบับ และแบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ คือ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ สมรรถนะในการสื่อสาร สมรรถนะในการคิด สมรรถนะในการแก้ปัญหา สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต และสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี โมเดลที่พัฒนาขึ้น ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติบ่งชี้ คือ 2 = 2.891, df = 3, p = 0.409, 2/ df = 0.964, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMR = 0.007 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ พบว่า โมเดลการวัดพหุระดับสมรรถนะคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 2 = 16.153, df = 10, p = 0.095, 2/ df = 1.615, RMSEA = 0.025, CFI = 0.988, TLI = 0.977, SRMRw = 0.015, SRMRb = 0.042 3. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 2 = 208.549, df = 130, p = 0.000, 2/ df = 1.604, RMSEA = 0.024, CFI = 0.988, TLI = 0.983, SRMRw = 0.020 และ SRMRb = 0.129 แบ่งตามระดับการทำนาย ดังนี้ 3.1 ระดับนักเรียน พบว่า สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้รับอิทธิพลเชิงบวก จากตัวแปรเกรดเฉลี่ยคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ตัวแปรรายได้ผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 ระดับโรงเรียน พบว่า สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ได้รับอิทธิพลเชิงบวก จากตัวแปรบรรยากาศห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectความสามารถทางคณิตศาสตร์ในเด็ก
dc.titleสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
dc.title.alternativeMthemticl competency under thilnd 4.0 of mtthyomsuks 3 studentsin the secondry eductionl service re 8
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to analyze mathematical competency under the Thailand 4.0 policy, 2) to explore the multilevel confirmatory factor of matthayomsuksa 3 students’ mathematics competency, 3) to develop and assess the validity of the multilevel structural equation model of factors influencing mathematics competency of matthayomsuksa 3 students. The research sample consisted of 1,129 Matthayomsuksa 3 students and 132 mathematics teachers in the Secondary Educational Service Area 8, in the 2nd semester of the academic year 2017, selected by multistage random sampling technique. The research instruments consisted of Mathematics competency test and rating scale questionnaires. The statistics for data analysis were the confirmatory factor analysis and a Multi-level Analysis The results were as follows: 1. The Mathematical Competency under Thailand 4.0 Policy of matthayom 3 students consisted of factors, they were; 1) Communication 2) Thinking 3) Problem solving 4) Life skill 5) Technology. The construct validity of models was consistent with the empirical data were 2 = 2.891, df = 3, p = 0.409, 2/ df = 0.964, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMR = 0.007 2. The multilevel confirmatory factor analysis show that the model of mathematical competency has structural validity, or was consistent with a high level of empirical data which can assess both student level and school level. The validity index were 2 = 16.153, df = 10, p = 0.095, 2/ df = 1.615, RMSEA = 0.025, CFI = 0.988, TLI = 0.977, SRMRw = 0.015, SRMRb = 0.042 3. The validity of the multilevel structural equation model show that the model of factors influencing the mathematics competency had structural validity, or was consistent with empirical data. The validity index were 2 = 208.549, df = 130, p = 0.000, 2/ df = 1.604, RMSEA = 0.024, CFI = 0.988, TLI = 0.983, SRMRw = 0.020 and SRMRb = 0.129, classified by the level of prediction as follows; 3.1 Student Level; Mathematical Competency under Thailand 4.0 Policy received a positive influence from grade of mathematics and parent income with statistically significant at the 0.01 3.2 School Level; Mathematical Competency under Thailand 4.0 Policy received a positive influence from classroom atmosphere, with statistically significant at the 0.01 level
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น