กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7491
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.advisorสมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.authorจตุพันธ์ รุจิรานุกูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:59:04Z
dc.date.available2023-05-12T03:59:04Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7491
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการทุจริต ทางการศึกษาของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคตะวันออก ในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน 3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับ การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 1,399 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออก จำนวน 58 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ค่า 2 = .005, df = 1, p = .945, 2/df = .005, RMSEA = .000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMRW = .000 และ SRMRB = .002 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า 2 = 122.144, df = 88, p = .009, 2/df = 1.388, RMSEA = .021, CFI = .991, TLI = 988, SRMRW = .033, SRMRB = .057 แบ่งตามระดับการทำนายดังนี้ 2.1 ระดับนักเรียน พบว่า การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ได้รับอิทธิพลเชิงลบจากการเลี้ยงดูของครอบครัว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพศ และได้รับอิทธิพลเชิงบวกจาก แรงจูงใจในการกระทำการทุจริตทางการศึกษา และอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ระดับโรงเรียน พบว่า การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ได้รับอิทธิพลเชิงลบจาก การบริหารวิชาเรียน และได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากการลดโอกาสในการทุจริต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.subjectความซื่อสัตย์
dc.subjectการทุจริต (การศึกษา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษา
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัะยมศึกษาในภาคตะวันออก
dc.title.alternativeThe multi-level cusl fctors ffect on upper secondry students’ cdemic dishonesty t the secondry level in Estern Are of Thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to analyze the factors that influence of upper secondary students’ academic dishonesty at the secondary level in eastern area of Thailand, 2) to study the multi-level causal factors those affect upper secondary students’ academic dishonesty, and 3) to develop the multi-level causal structural equation model of upper secondary students’ academic dishonesty at the secondary level in eastern area of Thailand. The participants consisted of 1,399 administrators, teachers and students in 58 secondary schools in the eastern area of Thailand, obtained by using two-stage random sampling. The research instruments were rating scale questionnaires. The data were analyzed by using single level confirmatory factor analysis, multilevel confirmatory factor analysis, and multilevel structural equation model. The research results were; 1. The proposed model consisted of 3 dependent observable variables which were Academic dishonesty in class, Academic dishonesty outside the classroom and Plagiarism, they fit with the empirical data where 2 = .005, df = 1, p = .945, 2/df = .005, RMSEA = .000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMRW = .000 and SRMRB = .002 2. The proposed multi-level model fit with the empirical data where 2 = 122.144, df = 88, p = .009, 2/df = 1.388, RMSEA = .021, CFI = .991, TLI = 988, SRMRW = .033 and SRMRB = .057. The model can be explained as followed: 2.1 For student level, the upper secondary students’ academic dishonesty received a negative influence from parenting, GPA and gender, and received positive influence from incentive to commit academic dishonesty and age at significance level of .05. 2.2 For school level, the upper secondary students’ academic dishonesty received a negative influence from course administration and received positive influence from reducing opportunities for academic dishonesty at significance level of .05.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น