กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7480
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.advisorมนตรี แย้มกสิกร
dc.contributor.authorอรทัย เอี่ยมสอาด
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:59:02Z
dc.date.available2023-05-12T03:59:02Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7480
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา 2) พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) รับรองศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาวิธีดําเนินการ วิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง/ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวโน้มของการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระยะที่ 2 พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาและระยะที่ 3 รับรองศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการในการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) การบริการ 2) การฝึกอบรม 3) การผลิต 4) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 5) การวิจัยและพัฒนา 2. การพัฒนา (ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยยึดหลักการกำหนดองค์ประกอบของ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้ 1) ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ 2) เป้าหมายและจุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างพื้นฐาน 4) ระบบการผลิตและบริการ 5) อุปกรณ์การผลิตและบริการ 6) บุคลากร 7) ระบบการจัดการ และ 8) การติดตามและการประเมินผล(ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้สารสนเทศ และการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ เน้นการให้บริการออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตบัณฑิตครูของคณะศึกษาศาสตร์ให้มีคุณภาพ มีความรู้และทักษะในการดํารงชีวิต และสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษาของคณาจารย์ พัฒนาแหล่งรวมทรัพยากรการศึกษาด้านศึกษาศาสตร์ ในลักษณะของแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ นอกจากนั้น ยังมีการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกและพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งเสริมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นในวิชาชีพเดียวกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษาการตรวจสอบความเหมาะสมของ (ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาใช้เทคนิคเดลฟาย จํานวน 2 รอบ พบว่า การตรวจสอบทั้ง 2 รอบ ให้ผลเช่นเดียว คือ ค่ามัธยมฐาน มากกว่า 3.50 ขึ้นไป มีค่าสมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับฐานนิยมไม่เกิน 1.0 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.50 เช่นกัน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าองค์ประกอบของ (ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความเหมาะสมมาก มีแนวโน้มเป็นไปได้ 3. การรับรองศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน พบว่า ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะศึกษาศาสตร์ -- การบริหาร
dc.subjectเทคโนโลยีทางการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subjectการพัฒนาองค์การ
dc.titleการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.title.alternativeA development of eductionl technology center for Fculty of Eduction, Burph University
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research is a research and development. The purposes of this study were to:1) study needs for development of educational technology center at theFaculty of Education Burapha university, 2)develop the educational technology center at theFaculty of Education Burapha university, and 3) certify the developed educational technology center prototype at the Faculty of Education, Burapha University. The research was conducted in 3 phases, phase1: study the current conditions, needs, and guidelines for the development of the educational technology center, phase2: develop the educational technology center prototype, and Phase3: assess the possibility of the implementation of the developed educational technology center prototype by the experts. The research results were as follows: 1. The needs for the educational technology center consistedof; service functions, training function, production function, learning environment management function and research and development function. 2. The prototypeof the Educational Technology Center, Faculty of Education, Burapha University had the following elements;1) Philosophy, Determination, Vision, and Mission2) Goals and Objectives 3) Infrastructure4) Production Systems and Services 5) Production Equipment and services6) personnel 7) management systems, and 8) monitoring and evaluation. It was found that the prototype was considered flexible be able to be adapted for the continual changes. It could response to the need of the user in accessing the knowledge information and the long life self-learning at anywhere, anytime, any tools. It emphasized the on line service through the internet to enhance the quality of the teacher development of the Faculty of Education, enabling them to have knowledge and life skill and support the knowledge creation and innovation of the instructors, development of a quality open learning resources in education. In addition it provided area and facility for supporting learning, promoting being the learning society, learning with others in the same discipline with the information technology and innovation. The assessment of the appropriateness of the prototype with the two rounds Delphi technique was found the congruence results, having the median higher than 3.50. The difference of the median was with in one scale with the inter-quartile less than 1.50. This showed the experts agreed that the prototype is appropriate and possible for the implementation 3. The accreditation of the Educational Technology Center from the 5 experts was appropriate at the highest level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น