กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7479
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.advisorนคร ละลอกน้ำ
dc.contributor.authorนราวิชญ์ ศรีเปารยะ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:59:01Z
dc.date.available2023-05-12T03:59:01Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7479
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสอนโดยใช้โครงงาน เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 80/ 80 3) เพื่อรับรองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู วิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสาร หลักการ ทฤษฎี งานวิจัยเกี่ยวข้องเพื่อนำไปกำหนดต้นแบบระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ประเมินความต้องการระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ 3) พัฒนากรอบแนวคิดโดยกำหนดคุณลักษณะและออกแบบระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ 4) ตรวจสอบคุณภาพระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) แล้วนำไปปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ 5) ร่างระบบการสอนโดยใช้โครงงาน เป็นฐานฯ และแผนการสอนตามระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ 6) ทดสอบประสิทธิภาพแผนการสอนตามระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ 7) ปรับปรุงและรับรองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ และแผนการสอนตามระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและเขียนรายงานการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา หลักสูตร 5 ปี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 1029301 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบจำลองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษา วิชาชีพครู 2) แผนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน 4) แบบประเมินรับรองแบบจำลองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบประสิทธิภาพ (E1/ E2) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก และ 13 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ 1.1 บริบท (Context) 1.2 หลักสูตรและเนื้อหา 1.3 ผู้เรียน 1.4 ผู้สอน 1.5 สภาพแวดล้อม 1.6 แผนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2. กระบวนการ (Process) ได้แก่ 2.1 ทดสอบก่อนเรียน 2.2 ปฐมนิเทศ ประกอบด้วย 2.2.1 แนะนำวิธีการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2.2.2 แนะนำการใช้โปรแกรมและเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร 2.2.3 แจ้งวัตถุประสงค์การเรียน 2.2.4 ชี้แจงเนื้อหาและชี้แจงกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ 2.2.5 ชี้แจงการติดต่อผู้สอนเมื่อมีปัญหา 2.2.6 แบ่งกลุ่มย่อย 4-5 คนและสร้างกลุ่มติดต่อสื่อสาร 2.3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ประกอบด้วย 2.3.1 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สอนได้จัดทำ 2.3.2 เตรียมแหล่งการเรียนรู้ เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา 2.3.3 ขั้นตอนการสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย 2.3.3.1 ขั้นตอนการคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน 2.3.3.2 ขั้นการวางแผน 2.3.3.3 ขั้นดำเนินงาน 2.3.3.4 ขั้นการเขียนรายงาน 2.3.3.5 ขั้นนำเสนอผลงาน 2.4 ทดสอบหลังเรียน 3. ผลลัพธ์ (Output) ได้แก่ 3.1 สมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา ประกอบด้วย 3.1.1 สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 3.1.2 สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 3.1.3 สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 3.2 ผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ 3.3 ประสิทธิภาพของระบบการสอน 4. ผลย้อนกลับ (Feedback) 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 81.52/ 82.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้ผลการประเมินสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.45) 3. ผลการประเมินรับรองระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูจากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( = 4.49)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subjectการสอนแบบโครงงาน
dc.titleการพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
dc.title.alternativeDevelopment of project-bsed instruction system to enhncing innovtion nd informtion competencies in eduction for student techers
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were; 1) to develop the project-based instruction system for enhancing innovation and information competencies in education for students who studied teaching profession 2) to validate the efficiency of the developed system with E1/ E2 criterion 3) to ensure that the project-based instruction system can enhance the students innovation and information competencie in education. The research process was as follow; 1) studying the document and theories of related topic for setting the foundation of the project-based instruction system, 2) evaluating the needs of project-based instruction system, 3) developing conceptual framework by identifying attributes and design instruction system, 4) quality testing of project-based instruction system by experts with focus group and revise accordingly to their suggestions, 5) drafting lesson plans for project-based instruction system, 6) evaluating the project-based instruction system, and 7) revising the instruction system and lesson plan accordingly to the expert suggestions and finally writing the research report. The samples used in the study were 25 students at the Faculty of Education, majoring in Computer Education and studied in 5 years program who enrolled for course 1029301: Education Innovation and Information Technology in the first semester in academic year of 2016 selected by purposive sampling. The research instruments were 1) project-based instruction system module, 2) lesson plan for project-based instruction system module, 3) pre-test and post-test, and 4) evaluation form of instruction system module for experts. The statistics for data analysis were percentage, Mean, Standard Deviation and Developmental Testing (E1/ E2). The research results were; 1. The developed instruction system using project-based for supporting the competencies in innovation and information technology in education can be divided into 4 main components and 13 sub-steps as follows; 1. Inputs, they were 1.1 Context, 1.2 Program and content, 1.3 Students, 1.4 Instructors, 1.5 Environment and 1.6 Lesson plan with project-based approach. 2. Processes the were; 2.1 Pre-test, and 2.2 Orientation including 2.2.1 Instruction of learning with project-based, 2.2.2 Instruction of program and communication tools, 2.2.3 objective of the study, 2.2.4 contents and interactive activities, 2.2.5 communication with instructors when needed, 2.2.6 student grouping of 4-5 students in a group and create a group communication. 2.3 Procedure of instruction learning with project-based, which was consisted of 2.3.1 materials and facilities prepared by instructors 2.3.2 preparing learning resource about innovation and information technology in education 2.3.3 Teaching method, consisted of 2.3.3.1 thinking process and selecting a topic, 2.3.3.2 planning process, 2.3.3.3 operation process, 2.3.3.4 report writing 2.3.3.5 presentation process 2.4 post-test 3. Outputs were; 3.1 competencies in innovation and information technology in education, consisted 3.1.1 ability to adapt, design, create and improve the innovation for learners, 3.1.2 ability to develop technology and information for learners, 3.1.3 ability to search for new learning center for learner 3.2 academic achievement 3.3 efficiency of the instruction system. 4. Feedback 2. The result of validating the efficiency of the developed instvcetion system was that the system has the efficiency of 81.52/ 82.24 which met the criteria. The overall competencies competency of the students was at high level ( = 4.45). 3. The result of evaluation by the experts to confirm the developed instruction system was at high appropriate ( = 4.49)
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น