กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7478
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบฝึกอบรมภควันตภาพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of ubiquitous trining system for enhncing informtion nd communiction technology competency for burph university fculty of eduction students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
อุบลวรรณ ลิ้มสกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาแบบองค์รวม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะศึกษาศาสตร์
เทคโนโลยีทางการศึกษา -- ไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านระบบฝึกอบรม ภควันตภาพ ฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อระบบฝึกอบรม ภควันตภาพเพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 5) เพื่อประเมินรับรอง ระบบฝึกอบรมภควันตภาพ ฯโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จํานวน 9 คน 2) นิสิต ระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) แบบทดสอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อระบบฝึกอบรม ภควันตภาพ ฯ และ 4) แบบประเมินรับรองระบบฝึกอบรมภควันตภาพ ฯโดยผู้ทรงคุณวุฒิสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test Dependent samples) และค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2 ) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) บริบท ได้แก่ การฝึกอบรมภควันตภาพ ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ปัจจัยนําเข้าได้แก่ วัตถุประสงค์การฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้ให้การฝึกอบรม เนื้อหา การฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คู่มือการฝึกอบรม อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งสนับสนุน ช่องทางการติดต่อสื่อสาร 3) กระบวนการฝึกอบรม ได้แก่ ขั้นก่อนฝึกอบรม ขั้นระหว่างฝึกอบรม ขั้นหลังฝึกอบรม 4) ผลลัพธ์ได้แก่ สมรรถนะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ความก้าวหน้าในการฝึกอบรม ความพึงพอใจ 5) ผลย้อนกลับ ได้แก่ คะแนนจากการทําแบบทดสอบ คะแนนการประเมินผลงาน ความพึงใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ที่มีต่อระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบฝึกอบรมของหน่วยฝึกอบรม 5 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 = 81.85/ 80.33, หน่วยที่ 2 = 81.67/ 80.33, หน่วยที่ 3= 81.11/ 80.67, หน่วยที่ 4 = 82.44/ 81.33 และหน่วยที่ 5 = 81.85/ 81.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด E1 / E2 = 80/ 80 3. ผลการประเมินความก้าวหน้าด้านสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านระบบฝึกอบรมภควันตภาพ ฯ พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความก้าวหน้าด้านสมรรถนะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อระบบฝึกอบรม ภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อระบบ ฝึกอบรมภควันตภาพ ฯ ระดับมากที่สุด ( X = 4.51) 5. ผลการประเมินรับรองระบบฝึกอบรมภควันตภาพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมอยูในระดับมาก ( X = 4.27)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7478
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น