กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7472
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorนิศากร เจริญดี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:58:59Z
dc.date.available2023-05-12T03:58:59Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7472
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลการวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) ตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา 3) สร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาและประเมินความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา และ 4) พัฒนาคู่มือการใช้มาตรวัดความสุข ในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เรื่องความสุขในการเรียนในบริบทของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลนักเรียนที่ศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 80 คน สังกัดอาชีวศึกษานครปฐม ทำการสังเคราะห์เพื่อหาตัวแปรความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา และระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดที่พัฒนาขึ้น พัฒนาเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติ และประเมินความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4,443 คน ที่ได้ จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย โดยผู้วิจัยสร้างมาตรวัดฉบับย่อย 12 ฉบับ ฉบับละ 17 ข้อ รวมทั้งสิ้น 204 ข้อ ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ จำนวน 164 ข้อ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการมีอิสระในการตัดสินใจและพึ่งตนเองเกี่ยวกับการเรียน มี 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ความเป็นอิสระใน การตัดสินใจในเรื่องการเรียน มี 14 ข้อ และฉบับที่ 2 การแสดงความสามารถและพึ่งตนเอง มี 16 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมในการเรียนมี2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 3 ความสามารถปรับตัวกับบรรยากาศในการเรียน มี 15 ข้อ และฉบับที่ 4 ความสามารถปรับตัว กับสภาพแวดล้อมรอบตัว มี 17 ข้อ องค์ประกอบที่ 3 ด้านความเจริญก้าวหน้าและความงอกงาม ในตนเอง มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 5 การตั้งใจเรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มี 15 ข้อ และฉบับที่ 6 การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มี 10 ข้อองค์ประกอบที่ 4 ด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 7 ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน มี 11 ข้อ และฉบับที่ 8 ความสัมพันธ์ ที่ดีกับครู มี 14 ข้อองค์ประกอบที่ 5 ด้านการมีเป้าหมายชีวิต มี 2 องค์ประกอบย่อย คือฉบับที่ 9 การเห็นคุณค่าและความหมายในการเรียน มี 11 ข้อ และฉบับที่ 10 การมีเป้าหมายในชีวิต มี 12 ข้อ และองค์ประกอบที่ 6 ด้านการยอมรับตนเอง มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ ฉบับที่ 11 การเห็นคุณค่าของตนเอง มี 13 ข้อ และฉบับที่ 12 ความพึงพอใจในตนเอง มี 16 ข้อ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียน พบว่า (1) มาตรวัดความสุขในการเรียน ทั้ง 12 ฉบับ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง .57-1.00 (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดตามทฤษฎี CTT ด้วยการวิเคราะห์หาค่าอำนาจำแนกรายข้อ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.202 ถึง 0.503 และค่าความเที่ยงรายฉบับมีค่าอยู่ระหว่าง 0.824 ถึง 0.92 ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก 200 ข้อ จาก ข้อคำถามทั้งหมด 204 ข้อ (3) ผลการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดตามทฤษฎี IRT ด้วยโมเดล GRM วิเคราะห์หาค่าอำนาจำแนก และค่า Threshold พบว่า มาตรวัดทั้ง 12 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 1.00 ถึง 4.23 และค่าพารามิเตอร์ Threshold ระหว่าง -1.28 ถึง 1.31 (4) ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามระหว่างเพศ (ชาย,หญิง) พบว่า มีจำนวน 36 ข้อ จากข้อคำถามทั้งหมด 200 ข้อ ที่ทำหน้าที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) ผลการตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวม ( = 38.21; df = 25; p = .044; CFI = 1.00; GFI = 1.00 AGFI = .99; RMSEA = 0.019; = 1.528) และ (6) ผลการหาค่าสัมประสิทธิ์ สรุปอ้างอิง (G-Coefficient) เท่ากับ 0.99 มาตรวัดฉบับที่ 1-12 ค่าสัมประสิทธิ์สรุปอ้างอิง (G-Coefficient) อยู่ระหว่าง 0.935 ถึง 0.960 3) ผลการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาพบว่า มาตรวัดดังกล่าวมีคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T16 ถึง T85 และการวิเคราะห์ความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา พบว่า นักเรียนอาชีวศึกษามีความสุขในการเรียน อยู่ในระดับ มากมีค่าเฉลี่ย 2.54 4) ผลจากการจัดทำคู่มือมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา พบว่า คู่มือมาตรวัดประกอบด้วย กรอบแนวคิด นิยามและขอบเขตคำแนะนำในการใช้มาตรวัด ข้อคำถามและแนวทางการตอบ การคิดคะแนน การแปลผลคะแนน และค่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งมาตรวัดมี ความเหมาะสมกับบริบทของนักเรียนอาชีวศึกษา สามารถนำโมเดลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาความสุขของนักเรียนในขณะที่เรียนได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความสุข
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา -- ทัศนคติ
dc.subjectการเรียน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectเครื่องชี้ภาวะความสุข
dc.titleการพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา
dc.title.alternativeA scle development of hppiness in lerning of voctionl students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were:1) to construct a model of happiness in learning of vocational students (HLVS), 2) to develop and examine the quality of HLVS scale, 3) to provide norm criteria for the HLVS scale and to evaluate the vocational students’ happiness in learning, and 4) to write a handbook accompanying the developed HLVS scale. The study was divided into 2 phases. The first one was of a qualitative research on happiness in learning in vocational student context. Eighty vocational students in Nakhon Pathom Province were individually interviewed. The obtained data were synthesized to find out the variables of HLVS. The second phase was to develop and examine the HLVS scale. Norm criteria were provided and the HLVS was evaluated. The samples were 4,443 vocational students from six regions throughout the country. Multistage random sampling technique was used to obtain the samples. SPSS software and LISREL were employed to analyze the data. The findings were as follows: 1. The developed HLVS model consisted of six main elements; namely, autonomy, environment mastery, personal growth, positive relationship with others, purpose in life, and self-acceptance each of which comprised two sub-elements, making 12 in total. Twelve sub-element scales of 17 items each were developed and 164 items out of 204 passed the selection criteria. The title of 12 sub-element scales and the number of items were presented in the order of the main elements mentioned above: Sub-element 1: Freedom of making decision to learn, 14 items Sub-element 2: Ability and self-reliance, 16 items Sub-element 3: Ability to adjust themselves in learning atmosphere, 15items Sub-element 4: Ability to adjust themselves to environment, 17 items Sub-element 5: Learning attentiveness and knowledge pursuit, 15 items Sub-element 6: Continuous self- development, 10 items Sub-element 7: Good relationship with friends, 11 items Sub-element 8: Good relationship with teachers, 14 items Sub-element 9: Realization of learning importance, 11 items Sub-element 10: Having target of life, 12 items Sub-element 11: Self-realization, 13 items Sub-element 12: Self- satisfaction, 16 items 2. The examination of the quality of the HLVS scale indicated that: 1) The index of item objective congruence (IOC) of all 12 scales ranged from .57 to 1.00; 2) based on the Classical Test Theory (CTT), the item discrimination was between 0.202 and .503, and the scale reliability calculated based on Cronbach’s alpha was between 0.824 and 0.921. Two hundred items out of 204 passed the selection criteria; 3) the discriminations calculated with Graded Response Model (GRM) under Item Response Theory (IRT) ranged from 1.00 to 4.23 and the threshold parameter was between -1.28 and 1.31; 4) the examination of differential item functioning (DIF) yielded 36 items out of 200 items, functioning differently in terms of sex; 5) according to the construct validity confirmed by the third order confirmatory factor analysis, the developed model was, as a whole, in accordance with the empirical data ( = 38.21, df = 25, p =.044, CFI = 1.00, GFI = 1.00, AGFI = .99, RMSEA = 0.019, = 1.528), and 6) the calculated G-Coefficient was 0.99 while the G-Coefficient of sub-scales 1-12 ranged from 0.935 to 0.960. 3. The norm criteria developed for the HLVS scales yielded the Normalized T–Scores ranged from T16 to T85. The analysis of students’ happiness in learning showed that the students were very happy ((x ) ̅= 2.54). 4. With respect to the developed HLVS handbook, it consisted of conceptual framework, definitions, instructions, questions and answers, scoring, interpretation of scores, and normal T-score calculation. The HLVS scales were found appropriate to the vocational student context, and could be used as a guideline to promote students’ happiness while they were studying.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf12.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น