กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7458
ชื่อเรื่อง: การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรแบบขนานที่ลำดับงานมีผลต่อเวลาการตั้งเครื่องจักรในกระบวนการขึ้นรูปยางรถยนต์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prllel mchine scheduling with sequence dependent setup time for tire building process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรวาล คุณะดิลก
อารดา ไชยโคตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การจัดสมดุลสายการผลิต
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
เครื่องจักรกล -- การควบคุมการผลิต
การผลิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
รถยนต์ -- ยางล้อ -- การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เสนอวิธีการจัดตารางการผลิตของเครื่องจักรสําหรับการขึ้นรูปยางรถยนต์ที่มีเป้าหมายในการลดต้นทุนรวมจากค่าแรงงานและค่าไฟฟ้าในการเดินเครื่องจักร ระบบการผลิตนี้มีลักษณะเป็นแบบเครื่องจักรแบบขนานจํานวน 32 เครื่อง สําหรับผลิตงานประมาณ 80 รุ่นต่อวัน รวม 7,000 เส้นต่อวัน โดยที่เวลาการปรับตั้งเครื่องจักรเมื่อมีการเปลี่ยนรุ่นการผลิตขึ้นอยู่กับลําดับงานก่อนหน้า การจัดตารางการผลิตของกระบวนการขึ้นรูปยางรถยนต์นี้เป็นกิจกรรมที่ทําประจําสัปดาห์ โดยนําปริมาณความต้องการยางแต่ละวันในหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้าจากแผนการผลิตหลักมาสร้างเป็นตารางการผลิตรายวัน ปัญหาการจัดตารางการผลิตรายวันนี้จึงเป็นปัญหาการจัดตารางการผลิตของเครื่องจักรแบบขนานที่ลําดับงานมีผลต่อเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรและวัตถุประสงค์ของการจัดตารางการผลิตคือการทําให้ต้นทุนรวมตํ่าที่สุด งานวิจัยนี้ได้สร้างแบบจําลองกำหนดการเชิงเส้นจํานวนเต็มผสม (Mixed integer linear programming, MILP) สําหรับแก้ปัญหานี้แบบจําลองที่สร้างขึ้นมีพื้นฐานจากปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถรับส่งนักเรียน โดยมีการเพิ่มเงื่อนไขสําคัญด้านการทํางานล่วงเวลา และจุดตั้งต้นการทํางานของเครื่องจักรแต่ละเครื่องที่แตกต่างกันซอฟต์แวร์ OpenSolver ด้วยโปรแกรมประมวลผล Gurobi 7.5.2 ถูกนํามาใช้ในการหาผลลัพธ์ที่เหมาะสมของแบบจําลอง MILPโดยกำหนดเวลาประมวลผลสูงสุดเท่ากับ 1,500 วินาที การทดสอบประสิทธิภาพของแบบจําลอง MILP ที่เสนอเปรียบเทียบกับตารางการผลิตจริง 30 วันที่สร้างจากประสบการณ์ของผู้วางแผน พบว่า วิธีการที่เสนอสามารถลดต้นทุนรวมได้ 328,848 บาท ต่อเดือน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 13.3 จํานวนเครื่องจักรที่ใช้ลดลงโดยเฉลี่ย 3.3 เครื่องต่อวัน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.3 และเวลาการทํางานล่วงเวลาลดลงโดยเฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 2
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7458
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น