กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/744
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริth
dc.contributor.authorสมสุข มัจฉาชีพth
dc.contributor.authorจงจิตร เถลิงพงษ์th
dc.contributor.authorณัฐนิชา หมัดหลีth
dc.contributor.authorนลินรัตน์ น้อยประเสริฐth
dc.contributor.authorพรชัย พัฒนโภครัตนาth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:06Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/744
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง แพทย์พื้นบ้านกับการใช้สมุนไพรในจังหวัดชลบุรีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลแพทย์พื้นบ้าน และเครือข่ายแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาและรวบรวมการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคของแพทย์พื้นบ้าน และเพื่อศึกษาตรวจสอบชนิดพืชสมุนไพรและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Study) โดยการเก็บข้อมูลเชิงลึก (In-depth Interview) แพทย์พื้นบ้านในการใช้พืชสมุนไพรและการบันทึกชนิดลักษณะสมุนไพรที่ใช้ แหล่งของสมุนไพรในจังหวัดชลบุรี ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2551 ผลการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านในจังหวัดชลบุรี จำนวน ทั้งหมด 28 คน จาก 7 อำเภอ คือ อำเภอพนัสนิคม 7 คน อำเภอเกาะจันทร์ 8 คน อำเภอสัตหีบ 4 คน อำเภอบ้านบึง 4 คน อำเภอบ่อทอง 3 คน อำเภอพานทอง 1 คน อำเภอเมืองชลบุรี 1 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 25 คน (89%) ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เป็นหมอยาสมุนไพร รักษาโรคหลายชนิด มีหมอเหยียบน้ำมัน 2 คน ใช้สมุนไพรรักษาพิษงู-งูสวัด 1 คน รักษาโรคมะเร็ง 6 คน รักษาโรคกระดูกทับเส้น 1 คน รักษาโรคหละ 1 คน และดูแลสตรีหลังคลอด 1 คน ส่วนใหญ่ที่มาเป็นหมอพื้นบ้านเพราะได้รับการถ่ายทอดความรู้มาแล้วได้ช่วยเหลือผู้อื่น การรักษาได้ผลทำให้ผู้ป่วยหายดีขึ้น มีความประทับใจ อยากช่วยเหลือผู้อื่นต่อ ได้สะสมประสบการณ์และยังได้สนใจศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อเนื่อง มีการใช้สมุนไพรหลากหลายถึง 232 รายการ การสำรวจสมุนไพรร่วมกับหมอพื้นบ้านมีสมุนไพรจำนวนมาก และมีหลายรายการที่ซ้ำกันส่วนที่ได้นำมาศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 43 รายการ ได้นำมาเปรียบเทียบกับชื่อทั่วไปและชื่อวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบสรรพคุณสมุนไพรจากคำบอกเล่าของหมอพื้นบ้านกับเอกสารอ้างอิง พบว่ามีสมุนไพรจำนวนมากสามารถนำมาใช้ประโยชน์และศึกษาต่อยอดได้ กระบวนการวิจัยนี้เป็นการจัดการองค์ความรู้และทำให้เกิดความร่วมมือสนับสนุนเครือข่ายในระดับพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก งบประมาณเงินแผ่นดิน ภายใต้แผนงานวิจัย สมุนไพรและภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออก พ.ศ. 2552en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการรักษาด้วยสมุนไพร - - วิจัยth_TH
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัยth_TH
dc.subjectพืชสมุนไพร - - การใช้รักษา - - วิจัยth_TH
dc.subjectพืชสมุนไพร - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleแพทย์พื้นบ้านกับการใช้พืชสมุนไพรในจังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeFolk medicine and herbal used in Chonburi provinceen
dc.typeResearch
dc.year2552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น