กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7448
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of mthemticl giftedness tests for grde 9th students in The Estern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
จารึก อาจวารินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษา -- แบบทดสอบ
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- การประเมิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- แบบทดสอบ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก จำนวน 900 คน โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบบวัดที่พัฒนาขึ้นแบ่งเป็น 3 ตอน คือ วัดความเชี่ยวชาญด้านองค์ความรู้ วัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ และวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนี IOC ตรวจสอบคุณภาพรายข้อภายใต้กรอบทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน อันดับสาม และวิธีใช้กลุ่มตัวอย่างที่รู้ชัด ตรวจสอบความตรงตามสภาพด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อสอบ จำนวน 33 ข้อ เพื่อวัดความเชี่ยวชาญด้านองค์ความรู้ 15 ข้อ วัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ 9 ข้อและวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ 9 ข้อ 2. คุณภาพของแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาเป็นดังนี้ คุณภาพ รายข้อ พบว่า ข้อสอบทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.7 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.2 ถึง 0.8 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) เท่ากับ 428.18 df = 391 p = 0.095 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (2 df) เท่ากับ 1.09 ดัชนี วัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.93 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.017 แสดงว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง และมีความตรงเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถแยกผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และผู้ที่ไม่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ได้จริง มีความตรงตามสภาพอยู่ในระดับสูง และ ความเที่ยงของแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงสัมพัทธ์เท่ากับ 0.88 3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก เกณฑ์ปกติคะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์มีค่าตั้งแต่ 0.26 ถึง 99.18 เกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐานทีปกติมีค่าตั้งแต่ 22 ถึง 74
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7448
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น