กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7444
ชื่อเรื่อง: การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A fctors of the reltionship between conflict mngement of dministrtors with enggement to the orgniztion of techers under the secondry eductionl service re office 18
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรัตน์ ไชยชมภู
สมศรี ทองนุช
อนุสรา สิงห์โต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน -- การบริหาร
ครู -- ความพอใจในการทำงาน
โรงเรียน -- การบริหาร
การบริหารความขัดแย้ง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และ 3) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 โรงเรียน จำนวน 367 คน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับความผูกพันในองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารด้านการยอมให้ (X5) ด้านการบริหารด้านการหลีกเลี่ยง (X4) ด้านการบริหารด้านการร่วมมือ (X2) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันในองค์กรของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ในภาพรวมมี 2 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการประนีประนอมและด้านการยอมให้ โดยการประนีประนอมส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู แต่ในทางกลับกันถ้ายอมให้มากความผูกพันต่อองค์กรของครูจะน้อยลง และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 3.508 + (.299) (x3)-(.150) (x5) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .369 (x3)-(.140) (x5)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7444
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf702.06 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น