กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7430
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
dc.contributor.authorปัทมาพร ณ น่าน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:33Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:33Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7430
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน แบบสามชั้นในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นในด้านความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ วินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน และเพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้นในการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและ กฎการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 18 จำนวน 675 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่ง ชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้นวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้น มีค่า ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (ค่า IOC = 1.00) มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างอยู่ระหว่าง .91-.99 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ค่าความยากชั้นที่ 1 ร่วมกับชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 มีค่าอยู่ระหว่าง .20-.58 ค่าอำนาจจำแนกใช้สูตรของ Brennan มีค่าตั้งแต่ .25-.79 ส่วนค่าความเชื่อมั่นใช้สูตรของ Livingston มีค่าอยู่ระหว่าง .88-.93 สำหรับคะแนนจุดตัดหาโดยวิธีของ Angoff เท่ากับ 13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ผลการวินิจฉัย พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดในเรื่องความหมายของแรง นักเรียนมีมโนทัศน์ที่ถูกต้องมากที่สุด เรื่อง การวิเคราะห์การเกิดแรง และเรื่องน้ำหนักของวัตถุ นักเรียนที่เดาหรือขาดความเชื่อมั่นมากที่สุดในเรื่องสนามโน้มถ่วง และแรงโน้มถ่วง และเรื่องที่นักเรียนขาดความรู้มากที่สุด คือ เรื่องความเฉื่อยของวัตถุ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการเคลื่อนที่ (กลศาสตร์)
dc.subjectฟิสิกส์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectแบบทดสอบวินิจฉัย
dc.subjectฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectแรง -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้นวิชาฟิสิกส์เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
dc.title.alternativeThe construction of three-tier dignostic test for detecting physics misconceptions in force nd lw of motion using for the 10th grde students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to: 1) construct the tree-tier diagnostic test for detecting the physics misconceptions on force and law of motion for the 10th grade students, 2) to validate the difficulty, the discrimination, the validity and the reliability of the tests, 3) detecting physics misconceptions and, 4) to create the teacher manual of the test. The sample of the research was selected by stratified random sampling technique. The sample consisted of 675 students who studied at 10th and 11th grade of schools were under Chon Buri-Rayong Secondary Educational service area office. The research instrument was 20 items of the tree-tier diagnostic test for detecting the physics misconceptions in force and law of motion. The result showed that the test met the requirements of content validity (IOC = 1.0) having construct validity between 0.91-0.99. The difficulty of all items ranged from .20-.58. The discrimination index was calculated by Brennan Method ranged from .25-.79. The reliable of the test according to Livingston Method ranged from .88-.93. The cutting score calculated by Angoff Method was 13 points of 20 points. The topic which students had misconception the most was the Force meaning and the topic that students had most accurate concept was the analysis of force formation and weight of objects all most all students lack confidence in gravitational field and gravitational force. The topic of inert of inertia was the most topic that students lacked of knowledge.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น