กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/743
ชื่อเรื่อง: แพทย์พื้นบ้านกับการใช้พืชสมุนไพรในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Folk medicine and herbal used in Chachoengsao province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันทา โอศิริ
สมสุข มัจฉาชีพ
ไพเราะ ไตรติลานันท์
พรรณราย พิทักเจริญ
นริศรา เลิศสมบุรณ์สุข
ดำรงศักดิ์ ชูศรีทอง
วารุณี พาหะนิชย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
คำสำคัญ: การรักษาด้วยสมุนไพร - - วิจัย
พืชสมุนไพร - - การใช้รักษา - - วิจัย
พืชสมุนไพร - - ไทย - - ฉะเชิงเทรา
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง แพทย์พื้นบ้านกับการใช้พืชสมุนไหร ในจังหวะฉะเชิงเทรา นี้วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลแพทย์พื้นบ้านและเครือข่ายแพทย์พื้นบ้าน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อศึกษาและรวบรวมการใช่สมุนไหรในการรักษาโรคของแพทย์พื้นบ้าน และเพื่อศึกษาตรวจสอบชนิดพืชสมุนไพรและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูล การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชองคุณภาพ(Qualitative Study) โดยการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) แพทย์พื้นบ้านในการใช้พืชสมุนไพรและการบันทึกชนิดลักษณะสมุนไพรที่ใช้ แหล่งของสมุนไพร ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2550 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ.2552 ผลการศึกษาพบว่าเครือข่ายการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดฉะเชิงเทรามีสองกลุ่มคือ กลุ่มภาคเอกชน เป็นกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจด้านสมุนไพร และกลุ่มหมอพื้นบ้าน เป็นกลุ่มหมอพื้นบ้านในอำเภอต่างๆของจังหวัฉะเชิงเทรา ที่เป็นกลุ่มหมอพื้นบ้านดั้งเดิมและกลุ่มหมอพื้นบ้านรุ่นใหม่ ผลการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้าน จำนวนทั้งหมด 154 คน จาก 10 อำเภอ อำภอท่าตะเกียบ 17 คน อำเภอสนามชัยเขต 8 คน อำเภอบางคล้า 9 คน อำเภอแปลงยาว 17 คน อำเภอบ้านโพธิ์14 คน อำเภอเมืองฉะเทริงเทรา 16 คน อำเภอบางน้ำเปรี้ยว 25คน อำเภอพนมสารคาม 30 คน อำเภอคลองเขื่อน 7 คน อำเภอบางปะกง 11 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 103 คน (67%) ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เป็นหมอพื้นบ้านมานาน โรคที่หมอพื้นบ้านให้บริการมากที่สุด คือ โรคเริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง รองลงมาคือ โรคตานซางในเด็ก ส่วนใหญ่ที่มาเป็นหมอพื้นบ้านเพราะอยากช่วยเหลือผู้ป่วย และมีความประทับใจเมื่อทราบว่าการรักษาได้ผล ผู้ป่วยหายดีขึ้น การสำรวจสมุนไพร ร่วมกับหมอพื้นบ้านในป่าชุมชน 3 แห่งคือ ป่าชุมชนหนองประโยชน์ ป่าชุมชนร่มโพธิ์ทองและ ป่าชุมชนธรรมรัตน์ในอำเภอท่าตะเกียบ มีสมุนไพรจำนวนมากและมีหลายรายการที่ซ้ำกัน ส่วนที่ได้นำมาศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 110 รายการ ได้นำมาเปรียบเทียบกับชื่อทั่วไปและชื่อวิทยาศาสตร์และเปรียบเทียบสรรพคุณสมุนไพรจากคำบอกเล่าของหมอพื้นบ้านกับเอกสารอ้างอิง พบว่ามีสมุนไพรจำนวนมากสามารถนำมาใช้ประโยชน์และศึกษาต่อยอดได้ กระบวนการวิจัยนี้เป็นการจัดการองค์ความรู้และทำให้เกิดความร่วมมือสนับสนุนเครือข่ายในระดับพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/743
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น