กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7411
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.authorธีระยุทธ เด่นดวง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:19Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:19Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7411
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตาม ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ที่ตั้งโรงเรียน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน โดยใช้เกณฑ์กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท ได้ค่าจำแนกอำนาจรายข้อระหว่าง .36-.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .87 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบสมมติฐานค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ซึ่งผู้วิจัย ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปรียบเทียบระดับการบริหารโรงเรียนโดยการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ที่ตั้งโรงเรียน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนมากไปหาน้อย คือ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักความมีส่วนร่วม และหลักความโปร่งใส 3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียน มีดังต่อไปนี้ มีการจัดตั้งระบบการบริหารที่ดีโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสอดคล้องกับนโยบาย เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงาน ของโรงเรียน มีมาตรการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามนโยบายของโรงเรียน มีการกำกับติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้เป็นระยะ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectธรรมรัฐ
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.titleหลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
dc.title.alternativeThe school dministrtion bse on the good governnce of the secondry eductionl service re office 28
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study and compare the application of good governance-based execution of school administrators under the Office of Secondary Educational Service Area Office 28 classified by working experience, school location and school size. The samples used in this study were 335 teachers who taught at the schools under Educational Service Area Office 28, derived by a stratified random sampling. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s table. The research tool was questionnaire with five-rating scale, having a reliability of .87. The value of discrimination power between .36-.85. Statistics used were percentage, mean ( ), standard deviation (SD), t-test and one way analysis of variance. The research findings were as follows; 1. The opinions of teachers toward good governance of the Secondary Educational Service Area Office 28 were at a high level in overall and individual aspects, ranging from: Morality, rule of law, accountability, cost-effectiveness, participation and transparency, respectively. 2. The comparison of overall good governance-based execution of school administrators under the Office of Secondary Educational Service Area 28, classified by working experience, school location and school size were different at .05 significant level. 3. Recommendations for improving the use of good governance in school administration were as follows. A good governance system should be set up by appointing committees to support the efficient and effective implementation of the policy. Disclosure of school performance measures to promote compliance with school policies. Monitoring and evaluate the performance according to the guidelines laid out periodically.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น