กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7410
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยมีทฤษฎีพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมเป็นฐานต่อมิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่นในภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of ssimilte integrtive group counseling bsed on rtionl emotive behvior theory to dolescent students’friendshipin lower Northern Prt of Thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประชา อินัง
เพ็ญนภา กุลนภาดล
สุพิน ใจแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: วัยรุ่น -- พฤติกรรม
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
เพื่อน
อารมณ์
วัยรุ่น -- การให้คำปรึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
วิทยานิพนธ์?aปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของมิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษาการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมเป็นฐาน ต่อมิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนวัยรุ่นในภาคเหนือตอนล่าง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 นักเรียนวัยรุ่น จำนวน 960 คน ใช้ในศึกษาองค์ประกอบของมิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่น ขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกจากนักเรียนวัยรุ่นที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนมิตรภาพระหว่างเพื่อนน้อยไปหามาก จำนวน 20 คน และสุ่มอย่างง่าย เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ ผู้วิจัยดำเนินการปรึกษากลุ่มจำนวน 12 ครั้ง ๆ ละ 90 นาที เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดมิตรภาพระหว่างเพื่อน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 2) การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การศึกษาองค์ประกอบมิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่น พบว่า 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การยอมรับ การช่วยเหลือ การสื่อสาร ความสนิทสนม และความไว้วางใจ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. มิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมการปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มิตรภาพระหว่างเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมการปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7410
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น