กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7402
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในนักเรียนระดับประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community prticiption model for childhood overweight prevention mong elementry school children
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีวรรณ ยอดนิล
ดุสิต ขาวเหลือง
อัจฉรา ภักดีพินิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
นักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
โรคอ้วนในเด็ก -- การป้องกัน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
โรคอ้วนในเด็ก -- การป้องกัน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันภาวะอ้วนในนักเรียนระดับประถมศึกษา ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างมาจาก 5 ภาคส่วนของชุมชนเขตเทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ โรงเรียน ชุมชน โรงพยาบาล เทศบาล และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 476 คน และสัมภาษณ์ความพร้อมของชุมชนในการป้องกันภาวะอ้วน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่แปลและปรับปรุงจาก Community readiness interview questions โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลจากแต่ละภาคส่วนแบบเจาะจง จำนวน 12 คน และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการมี ส่วนร่วมของชุมชน ดำเนินการตามขั้นตอนของ ADDIE Model วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.50 พบอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ สมาชิกชุมชนขาดความรู้ และความตระหนักต่อปัญหาภาวะอ้วนในเด็ก ผลการประเมินความพร้อมของชุมชน พบว่า ระดับความพร้อมของชุมชนอยู่ในระยะไม่ตระหนัก มีค่าคะแนน เท่ากับ 1.62 หมายถึง สมาชิกและผู้นำชุมชนไม่ตระหนักว่าภาวะอ้วนในเด็กเป็นประเด็นปัญหาของชุมชน และการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันภาวะอ้วนในเด็ก มี 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การศึกษาสภาพชุมชน 2) การวางแผน 3) การดำเนินกิจกรรม 4) การประเมินผล และ 5) การสรุปผลและดำเนินการต่อเนื่อง ผลการใช้รูปแบบ พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนหลังใช้รูปแบบ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาวะอ้วนของนักเรียนหลังใช้รูปแบบ ลดลงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้ คือ 1) ควรสร้างความตระหนักแก่ผู้นำชุมชนเพื่อให้การสนับสนุนและนำไปกำหนดนโยบาย 2) ควรมีผู้ประสานงานหลักที่มีภาวะผู้นำสำหรับติดตาม และประสานการดำเนินงานของแต่ละภาคส่วน 3) ควรเน้นการป้องกันภาวะอ้วนแก่เด็กทุกคน และ 4) ควรพัฒนาสมรรถนะในการประเมินความพร้อมของชุมชน แก่บุคลากรสาธารณสุข ครู และแกนนำชุมชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7402
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น