กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7399
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสถาพร พฤฑฒิกุล
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.authorปวีณา คำมูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:17Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:17Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7399
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และแบบสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การโรงเรียน โดยแต่ละตอนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .49 - .98 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .94 - .98วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ มีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียน ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์การโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และวัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางบวกในระดับสถิติที่ระดับ .01 3. ภาวะผู้นําทางวิชาการด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (X11) ภาวะผู้นำทางวิชาการด้านการส่งเสริมบรรยากาศ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (X15) วัฒนธรรมองค์การด้านความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน (X21) วัฒนธรรมองค์การด้านความหลากหลายของบุคลากร (X210) และวัฒนธรรมองค์การด้านการมอบอำนาจ (X22) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย ร้อยละ 64.80 และสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 1.133 + 0.431 (X11) + 0.103 (X15) + 0.135 (X21) - 0.125 (X210) + 0.113(X22) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.431 (Z11) + 0.103 (Z15) + 0.135 (Z21) -0.125 (Z210) + 0.113 (Z22)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การ
dc.subjectประสิทธิผลองค์การ
dc.subjectผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.titleภาวะผู้นำทางวิชาการและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
dc.title.alternativeAcdemic ledership nd culture orgniztion ffecting schools effectiveness under the Ryong Primry Eductionl Service Are Office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study how academic leadership and organizational culture may affect schools’ effectiveness of schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1. The samples was 317 teachers working in schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1. To identify the sample, stratified random sampling technique was employed. The data was collected by a set of rating-scale questionnaire. The questionnaire consist, of questions reviewing the schools’ effectiveness, the academic leadership, and the organizational of the schools. The discriminative power value of this questionnaire was between .49 - .98 and its reliability was between .94 - .98. Data was analyzed by Mean ( ), Standard Deviation (SD), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The results of the study were as follows: 1. The schools effectiveness, the academic leadership and the organizational culture of the schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 were at a high level. 2. The academic leadership and organizational culture of the schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1 were found; The vision, mission and goals factor (X11), promoting the atmosphere culture and environment conducive to learning factor (X15), The purpose of the school factor (X21), Diversity of personnel factor (X210), and Delegation factor (X22) There were effecting school effectiveness with statistically significant at level of .05. The regression coefficient predictive competence was found at 64.80. These could be formed as the regression equations of raw score and standardized score as follows: The Regression Equation of Row Score: = 1.133 + 0.431 (X11) + 0.103 (X15) + 0.135 (X21) - 0.125 (X210) + 0.113(X22) The Regression Equation of Standardized Score: = 0.431 (Z11) + 0.103 (Z15) + 0.135 (Z21) -0.125 (Z210) + 0.113 (Z22)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น