กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7389
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorสมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.authorพินิจ สังสัพพันธ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7389
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย และ 3) ประเมินรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดนตรีไทยในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 774 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามในลักษณะมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ตรวจสอบร่างรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation model: SEM) โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ของนักเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) = 181.60 ค่า df = 103 ค่า p = .000 ค่า CFI = .996 ค่า RMSEA = .0314 ค่า GFI = .973 และค่า χ2/ df = 1.763 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความสามารถพิเศษทางดนตรีไทยได้ ร้อยละ 90.20 (R2 = .902) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ของนักเรียน มี 1 ตัวแปร คือ ความสามารถพื้นฐานทางดนตรีไทย 2. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย เป็นรูปแบบเชิงระบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ บทบาทของครอบครัว 2) กระบวนการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ คุณลักษณะเฉพาะของนักดนตรีไทย และความสามารถพื้นฐานทางดนตรีไทย 3) ผลผลิต คือ ความสามารถพิเศษทางดนตรีไทย และ 4) ข้อมูลย้อนกลับ ถ้าหากผลผลิตไม่มีคุณภาพ 3. ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีค่าอยู่ระหว่าง .80-1.00 สามารถนำไปใช้สอน เพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectดนตรีไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subjectความสามารถทางดนตรี
dc.subjectดนตรีไทย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย
dc.title.alternativeThe development of n instructionl model for enhncing the tlented studentsin thi clssicl music
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research study was a mixed methods research. The purposes of the study were; 1) to develop the causal relationship model that influence the talented students in Thai classical music, 2) to develop the teaching methods in order to enhance the talented students in Thai classical music, and 3) to evaluate the developed teaching methods to enhance the talented students in Thai classical music. The sample group of the participants was primary school students who had won the Thai classical music contest award and obtained a gold medal. Such contest was held during the academic year 2017 by the Office of the Basic Education Committee (OBEC). Stratified random sampling was used for selecting 774 students for the study. Two instruments were used: 1) multiple-choice test and 2) five-point rating scale questionnaire constructed by the researcher. Basic data were analysed by SPSS programme. The draft of the teaching methods for promoting students with Thai classical music talents was verified and analysed by using the confirmatory factor analysis, and the causal relationship model for the influence of the talented students in Thai classical music was analysed by the structural equation model and LISREL 8.72. The results were as follows: 1. The causal relationship model influencing the talented students in Thai classical music, the result indicated that the model was conformed to the empirical data in a good level. The test results of chi-square showed (2) = 181.60, the df value = 103, p value = .000, the CFI value = .996, the RMSEA value = .0314, the GFI value = .973, and the χ2/ df value = 1.763. All variables in the model could explain the variance of Thai classical music talents with a percentage of 90.20 (R2 = .902). There was one factor directly influence the students’ ability to perform Thai classical music that was the basic abilities of Thai classical music. 2. The teaching model for promoting students’ talents in Thai classical music consisted of 4 steps: 1) input factor describing family’s roles, 2) process describing individuals’ creativity and their basic abilities of Thai classical music, 3) output describing talents in Thai classical music, and 4) feedback describing no quality found from the production. 3. The results of evaluation on contribution, feasibility, and appropriateness of the teaching model was found that the IOC (index of item-objective congruence) validated by experts was at .80-1.00 level, so the model can be used to instruct and teach students in order to promote their talents in Thai classical music.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น