กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7384
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.advisorภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.authorรัตนา บำรุงจันทร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:14Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:14Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7384
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับปัจจัยและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ปีการศึกษา 2560 โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2559 โดยรวม พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยรวมมีผลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 3. ปัจจัยทำนายที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีค่าอยู่ระหว่าง .16 ถึง .79 โดยด้านความรู้พื้นฐานเดิม ด้านแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ ด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ด้านคุณภาพการสอน ด้านสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4. จากสมการพยากรณ์ พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ของปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้พื้นฐานเดิม ด้านส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้ปกครอง ด้านพฤติกรรมการเรียน โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 65.10 และสามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการถดถอยในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ = .47 + .31 (X1) + .03 (X5)+ .04 (X3) = .69 (X1) + .13 (X5)+ .11 (X3)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
dc.subjectการศึกษาขั้นมัธยม -- การประเมิน
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษา
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
dc.title.alternativeFctors ffecting ordinry ntionl eductionl test (O-NET) of students in secondry eductionl extention school uder The Office of Skeo Primry Eductionl Service Are 2
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the factors those affect the ordinary national educational test (O-NET) of students in secondary educational extention schools under the Office of Sakaeo Primary Educational Service Area 2, to study the relationship between the factors affecting ordinary national educational test (O-NET) of students in secondary educational extention school under the Office of Sakaeo Primary Educational Service Area 2, and to construct the regression equation of ordinary national educational test (O-NET) of the students in secondary educational extention school under the Office of Sakaeo Primary Educational Service Area 2. The sample was 274 students in secondary educational extention school under the Office of Sakaeo Primary Educational Service Area 2, year 2560 selected by multi-stage random sampling. Instuments used a questionnaire with five-level scale. The statistics used in data analysis were mean standard deviation, Pearson correlation coefficients and stepwise multiple regression analysis. The research finding were as follows; 1. The level of ordinary national educational test (O-NET) in year 2560 in overall showed that the grade 7th students in secondary educational extention schools under the Office of Sakaeo Primary Educational Service Area 2 was below a threshold. 2. The level of factors affecting ordinary national educational test (O-NET) of the students were at average level. 3. The factors correlated with ordinary national educational test (O-NET) ranged from .16 to .79, they were background educational, achievement motivation, studying habit, economic status of the family, participation in learning encouragement, family relations, quality of teachers, classroom learning environments, and teacher and student relationships, having positive relations at .01 level of significance. 4. The equation that can be the predictors of factors affecting ordinary national educational test (O-NET) of students in secondary educational extention school under the Office of Sakaeo Primary Educational Service Area 2 were; Background educational, Participation in learning encouragement, Studying habit with prediction at 65.1 percent and can predict ordinary national educational test (O-NET) of the students at .01 level of significance. The equation of raw scores and standardized scores, were as follows; = .47 + .31 (X1) + .03 (X5)+ .04 (X3) = .69 (X1) + .13 (X5)+ .11 (X3)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น