กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7372
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorสุนิสา ภู่เงิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:55:12Z
dc.date.available2023-05-12T03:55:12Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7372
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหาร กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 315 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นจึงทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นชั้นของการสุ่ม และทำการสุ่ม อย่างง่าย (Simple random sampling) ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) เกี่ยวกับปัจจัยการบริหาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าอำนาจจำแนก .42-.83 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ .95 ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าอำนาจจำแนก .51-.93 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 ด้านบรรยากาศองค์การ มีค่าอำนาจจำแนก .39-.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 และเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก .31-.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยการบริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ภายในโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก และด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ตามลำดับ 3. ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน ในปัจจัยบรรยากาศองค์การด้านโครงสร้างองค์การ (ST) ปัจจัยภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (IC) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบต่องาน (RS) ด้านบรรยากาศองค์การด้านความขัดแย้งและการยินยอม (CF) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (WI) และปัจจัยบรรยากาศองค์การด้านความท้าท้ายและความรับผิดชอบ (CR) พยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.20 ดังสมการการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ = .743 + .248 (ST) + .172 (IC) + .234 (RS) + .129 (CF) + .119 (WI) - .082 (CR) = .305 (ST) + .260 (IC) + .307 (RS) + .219 (CF) + .157 (WI) - .115 (CR)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา (เขตการศึกษา 3)
dc.subjectการบริหารการศึกษา -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternativeFctors ffecting the primry school’s effectiveness under chonburiprimry eduction service re office 3
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the relationship between the factors of academic administration and the effectiveness of primary school under Chonburi Primary Education Service Area Office 3. The samples consisted of 315 primary teachers under Chonburi Primary Education Service Area Office 3, academic year of 2017. They were selected by Stratified Random Sampling. The tool used for collecting data was rating scale questionnaire. The discrimination power of the questionnaire on academic administration and transformational leadership was .42-.83 with reliability of .95. The discrimination power of the questionnaire on work motivation was .51-.93 with reliability of .98. The discrimination power of organizational atmosphere was .39-.87 with reliability of .98. The discrimination power of primary school’s effectiveness was .39-.87 with reliability of .95. The discrimination power of school’s effectiveness was .31-.84 with reliability of .97. The statistics that were used to analyze the data were Mean ( ), Standard Deviation (SD), Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient), and Stepwise Multiple Regression Analysis) The results were as follows: 1. Both overall and each aspect showed the factor of academic administration were rated at high level, ranging from the highest level to the lowest level as follows: school surrounding, transformational leadership, and work motivation respect. 2. Both overall and each aspect showed the effectiveness of primary schools under Chonburi Primary Education Service Area Office 3 were at high level, ranging from the highest level to the lowest level as follows: capability of solving the school’s issues, capacity of converting and improving school, capability of developing students’ positive attitude, and capability of improving students’ study result. 3. Factor of administration and the effectiveness of school were found to be from moderate level to high level with the significant of .01. 4. It was found that the following factors were able to predict the effectiveness of schools: the structure in organizational atmosphere, individualized consideration in transformational leadership, responsibility in work motivation, conflict and consent in organization surrounding, work instruction in work motivation, and challenge and responsibility in organization surrounding. The prediction power of these predictors was 77.20. The predictive equation in the form of raw scores and standardized scores could be derived as follows: = .743 + .248 (ST) + .172 (IC) + .234 (RS) + .129 (CF) + .119 (WI) - .082 (CR) = .305 (ST) + .260 (IC) + .307 (RS) + .219 (CF) + .157 (WI) - .115 (CR)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น