กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7340
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายความสม่ำเสมอในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชายในระดับอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Predictors of consistent condom use mong msm undergrdute students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนภา หอมสินธุ์
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
นัทธวิทย์ สุขรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
ถุงยางอนามัย
นักศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชนชายรักชายยังคงเป็นปัญหา และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักของการติดเชื้อ คือ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ถุงยางอนามัย และปัจจัยทำนายความสม่ำเสมอในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชายในระดับอุดมศึกษา โดยใช้กรอบแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสารแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรม กลุ่มตังอย่าง คือ นักศึกษาชายรักชายอายุระ หว่าง 18-25 ปี ที่กำลังศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 115 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบบอกต่อ (Snow ball sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยด้วยตนเอง ประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวถุงยางอนามัย โดยมีค่า KR 20 เท่ากับ 0.72 และ 0.75 ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีการรับรู้ ประโยชนข์องการใช้ถุงยางอนามัย การรับรู้อุปสรรคต่อการใช้ถุงยางอนามัย การสนับสนุนจากคู่นอนในการใช้ถุงยางอนามัย การรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการใช้ถุงยางอนามัย และพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.82-0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนชายรักชายมีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคู่นอนประจำต่ำกว่าคู่นอนชั่วคราว (ร้อยละ 49.6 และร้อยละ 66.4 ตามลำดับ) ปัจจัยด้านการรับรู้สมรรถนะตนเองต่อการใช้ถุงยางอนามัย สามารถทำ นายความสม่ำเสมอในการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษาชายรักชาย ทั้งคนที่มีคู่นอนประจำ (Adjusted OR = 1.106, 95% CI= 1.010-1.211, Pseudo R 2 =13.4%) และคนที่มีคู่นอนชั่วคราวได้(Adjusted OR = 1.134, 95% CI= 1.029-1.249, Pseudo R 2 = 20.0%) ดังนั้นจึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษาชายรักชายให้สามารถพกถุงยางอนามัยไว้ใกล้ตัวให้พร้อมใช้งาน กล้าพูดคุยกับคู่นอนให้ยินยอมใช้ถุงยางอนามัย และกล้า ที่จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ถ้าหากคู่นอนไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงการหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7340
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น