กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7290
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.authorชลชญา วงศ์ชญาอังกูร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:43:00Z
dc.date.available2023-05-12T03:43:00Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7290
dc.descriptionงานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกข้อยกเว้นความรับผิดให้แก่สามีที่ข่มขืน กระทําชําเราภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมุ่งให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันและเพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่ถูกกระทําให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเพื่อแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศและขจัดความรุนแรงที่กระทําต่อผู้หญิงจากการศึกษาพบว่าการข่มขืน กระทําชําเราระหว่างสามีภริยาจะเป็นความผิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกับนิตินโยบายของประเทศนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไป ในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นกลไกคุ้มครองบุคคลที่ถูกกระทําความรุนแรงในครอบครัวบังคับใช้อยู่แล้วโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ความคุ้มครองรวมถึงผู้ที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา แตกต่างจาก ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสี่ที่คู่สมรสต้องจดทะเบียนตามกฎหมายเท่านั้น ทั้งที่ กฎหมายทั้งสองฉบับออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของสามีหรือภริยาเช่นกัน จึงเสนอ ให้บัญญัติเพิ่มเติมขอบเขตคําว่า“คู่สมรส”ตามมาตรา 276 วรรคสี่ ให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่กิน ฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสด้วย และบัญญัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิยามคําว่า“ความยินยอม” ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 โดยบัญญัติให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรว่ากรณีใดบ้างที่จะ ถือว่าเป็นความยินยอมที่จะทําให้ขาดองค์ประกอบความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเรา และในกรณีคู่สมรสเป็นเด็กเสนอให้แก้ไขมาตรา 277 เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมาตรา 276 วรรคสี่ โดยบัญญัติเพิ่มเติมเป็นมาตรา 277 วรรคหก ดังนี้ “ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทําต่อคู่สมรสที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นไม่ยินยอม ผู้กระทําความผิดต้อง ระวางโทษตามวรรคหนึ่งด้วย และในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภรรยาต่อไปและประสงค์จะหย่าให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ ละให้ศาลแจ้งพนักงาน อัยการให้ดําเนินการฟ้องหย่าให้” ในลักษณะเดียวกันกับมาตรา 276ว รรคสี่ แต่ไม่ควรกําหนดให้ ศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษน้อยกว่าที่กําหนดไว้ได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมและเป็นการคุ้มครองแก่คู่สมรสที่เป็นเด็ก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการข่มขืนภรรยา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subjectพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.titleความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยา
dc.title.alternativeCriminl libility for spousl rpe
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น