กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7258
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.authorนิติรัตน์ ไชยอำนาจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:39:11Z
dc.date.available2023-05-12T03:39:11Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7258
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนและเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน ในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามเพศ อายุ อาชีพ สถานภาพ การสมรส ระดับการศึกษาและรายได้กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในเทศบาลเมืองแสนสุข จํานวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามเพศ ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t – Test) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตาม อายุ อาชีพ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้ทําการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาล เมืองแสนสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.19) โดยเรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ( X = 3.61) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( X = 3.10) ด้านการดําเนินการ ( X = 3.07) และด้านการตัดสินใจ ( X = 2.98 ) และเมื่อเปรียบเทียบการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ประชากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกัน ที่นัยสําคัญทางสถิติ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ยกเว้นประชาการที่มีเพศ แตกต่าง ปัญหาอุปสรรค พบว่า ประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขาดการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และขาดการประสานงานระหว่างเทศบาลกับประชาชนที่ไม่ต่อเนื่องจริงจัง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectเทศบาลเมืองแสนสุข -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
dc.subjectการปกครองส่วนท้องถิ่น -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.subjectการพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativePublic prticiption in locl development of sensuk municiplity, mung district, chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeA study of people's participation in local development of Saensuk Municipality, Mueang District, Chonburi The objectives of this study were to study the level of participation in local development of the people and to compare the differences in local people's participation in local development in the local development of Sa Kaeo Municipality by gender, age, occupation, marital status, Education and income Sample of research The 396 residents in the municipality were selected. Percentage, Mean and Standard Deviation (S.D.). Comparative Analysis of People's Participation Differences in Local Development of Saensuk Municipality. By sex, t-test statistic was used to compare the participation of people in local development in Sa Kaeo municipality classified by age, occupation, education status and educational level. income per month One-way ANOVA was used, and when statistically significant difference was observed, Scheff's method was used to analyze the difference. The results are as follows. Public Participation in Local Development of Sansuk Municipality Overall, the mean was (= 3.19), in descending order from the mean to the least significant, namely, participation in benefits (= 3.61). Participation in evaluation (= 3.10). (= 3.07) and decision-making (= 2.98). In comparison with the public participation in the local development of Saensuk Municipality According to the personal data of the respondents, it was found that the population with educational level, occupation and income per month. Different opinions on public participation in different local development. The statistical significance was 0.05. Based on the research hypothesis. Except for populace having different sexes, problems in local development Lack of promotion of participation and lack of coordination between the municipality and the discontinuities.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการเมืองการปกครอง
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf818.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น