กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7257
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.authorอรดี พรพิเนตพงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:39:10Z
dc.date.available2023-05-12T03:39:10Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7257
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมือง แสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรีและเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ตําแหน่งงาน อายุราชการ ที่มีความแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานส่วนท้องถิ่นเขตอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จํานวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, SD) ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t – Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญจึงทําการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheff”s Method) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับสูง โดยเรียงลําดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความสําเร็จ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านนโยบายและการบริหาร ส่วนอันดับสุดท้ายได้แก่ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จําแนกตามอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ตําแหน่งงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น เพศ และระยะเวลาในการรับราชการ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งมีระดับแรงจูงใจน้อยที่สุด ดังนั้น รัฐหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกําหนดนโยบายให้ชัดเจน เกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการประโยชน์เกื้อกูลและเงินตอบแทน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานด้านความก้าวหน้าในหน้าที่ แนวทางการจัดทําแผนงาน นโยบายเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยเน้น เรื่องระบบสวัสดิการประโยชน์เกื้อกูลและเงินตอบแทนลักษณะต่าง ๆ ที่ได้รับ และควรมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง รายได้ที่บุคลากรที่ปฏิบัติงานได้รับจากการปฏิบัติงาน สวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อปรับปรุงให้ พอเพียงแก่การดํารงชีพในปัจจุบันและเทียบเคียงกับองค์กรอื่น โดยให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectพนักงานเทศบาล -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
dc.subjectเทศบาลเมืองแสนสุข
dc.subjectการจูงใจในการทำงาน
dc.titleแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองแสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
dc.title.alternativeMotivtion ffecting to stff’s performnce of Sensuk Municiplity, Mung district, Chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research. The purpose of this study was to investigate the level of motivation of employees in Saensuk Municipality, Muang District, Chonburi Province. And to compare the motivation of employees in the municipality of Sansuk by gender, age, education level, income level, age, The sample was Local staff, district The data were collected by questionnaire rating scale (Rating Scale) Statistics used in data analysis include: Percentage, mean and standard deviation (SD) are used for t-test, One-way ANOVA for breakage. Significantly, Scheff's method was used to analyze individual differences. Motivation Affecting the Performance of Staff in Saensuk Municipality, Muang District, Chon Buri Municipality. Overall and the item is at a high level. In order from the top three to the least is the success. The nature of the task. And policy and administration. The final rank is Payroll and benefits when comparing the difference in motivation in the performance of employees in Saensuk Municipality, Muang District, Chonburi. By age of education Income per month was found to be significantly different at .05 level except sex and length of service. There were no statistically significant differences, problems, obstacles, and suggestions. At the lowest level of motivation, therefore, the state or relevant agencies should clearly define the policy. About benefits, benefits, benefits and benefits in order to build morale in the work of progression. Planning guidelines Policy on job motivation of employees in Saensuk Municipality, Mueang District, Chonburi. The emphasis is on welfare, benefits, benefits and benefits received, and should be studied about the income that the workforce receives from the work. Benefit and other benefits to improve sufficiency in current living and comparable to other organizations. To suit current economic conditions.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการเมืองการปกครอง
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf818.71 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น