กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7253
ชื่อเรื่อง: บทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles prents of Sngh in Mung district, Ryong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ตันศิริคงคล
สุเทพ เชื้อสมุทร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: สงฆ์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
สงฆ์ -- การเมืองและการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องบทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอําเภอเมือง จังหวัดระยองการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของ พระสังฆาธิการในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทด้านการปกครองของคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยจําแนกตามโดยจําแนกตาม อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสายสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรม การวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จํานวน 275 รูป วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบค่าเอฟ (F–test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One-way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง พบว่า พระสงฆ์ในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง มีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง ทั้ง 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 และเมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ซึ่งอันดับที่ 1 ได้แก่ ด้านการปกครองตามพระธรรมวินัย รองลงมาได้แก่ ด้านการปกครองตามกฎหมายคณะสงฆ์ และอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านการปกครองภายในวัด ( X = 3.56, 3.49 และ 3.42) ตามลําดับ และ 2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ ในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง จําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวม มีผลทําให้บทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์ของพระ สังฆาธิการ ในอําเภอเมือง จังหวัดระยอง ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7253
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf853.93 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น