กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7239
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorปัญจศร ศรีใส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:39:07Z
dc.date.available2023-05-12T03:39:07Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7239
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 49 ข้อ ซึ่งค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .39-.65 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .88 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำนวน 304 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย สามอันดับแรก ได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยใช้รางวัล และตำหนิอย่างสร้างสรรค์ ด้านการสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างทีมงานส่วนด้านการสร้างรูปแบบความคิด ในทางบวก มีภาวะผู้นำเหนือผู้นำเป็นอันดับสุดท้าย 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากร เป็นผู้นำตนเอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามขนาดของ โรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้น ด้านการกระตุ้นให้ บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่โรงเรียน ขนาดกลางมีภาวะผู้นำเหนือผู้นำสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectการศึกษาขั้นมัธยม -- การบริหาร
dc.subjectภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.titleภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
dc.title.alternativeTHE superledership of dministrtors in schools under the secondry eductionl service re office 17
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study and compare the superleadership of school administrator under the secondary educational service area office 17 classified by educational qualification, work experience, and school size. The research instrument was a 5 level rating scale questionnaire with 49 questions. The discriminative power were between .39 to .65. The reliability was at .88. The research sample was 304 teachers under the secondary educational service area office 17. The statistic used in this research were Frequency, Percentage, Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test, and One-way ANOVA. After the research found the statistically significant differences, the Multiple comparison test (Scheffe's method) was used. The research results were: 1. The superleadership of school administrator under the secondary educational service area office 17 was at a high level in overall and individual aspects. Descending the average scores; there were the facilitation of self-leadership tradition, the facilitation of self-leadership which include rewarding and creatively admonition, the encouragement of self-leadership by team building, and creating positive thinking for superleadership. 2. The comparison of superleadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 17 classified by educational qualification of teachers was found no statistically significant difference in overall and individual aspects. Except for the role-modeling for the staffs to have self-leadership aspect which was statistically significant different at .05 level. There was no statistically significant in overall and individual aspects on superleadership of school administrators when classified by work experience of teachers answering the quastionnairs. There was also no statistically significant difference when comparing opintion of teachers working in different sizes of school. Except for the staffs stimulation to set the goal by themselves, it was statistically significant different at .05 level. The middle size schools had more leadership than the small size schools.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น