กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7235
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน (ภาครัฐ) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE development of model of communities reltionship dministrtion of public school under chonburi primry eductionl service re office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
พงศ์เทพ จิระโร
กฤตยา มงคลวงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน (ภาครัฐ) ในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ประชากร(ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา) ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 243 คน จาก 81 โรงเรียน ทำการศึกษายกร่างต้นแบบจากการถอดบทเรียนโรงเรียนที่มี ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best practice) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน จำนวน 2 โรงเรียน และประเมินผลการใช้รูปแบบจากโรงเรียนที่ทำการทดลองใช้คู่มือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียน บ้านเขาชีจรรย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบผสม (Mixed methodology) โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) สำรวจเพื่อศึกษาสภาพ 2) ออกแบบและ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความสำเร็จของงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าความถี่ (Frequency) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับปฏิบัติของสถานศึกษาเรียงจากน้อยไปหามาก สะท้อนให้เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงในโรงเรียน “ระดับปานกลาง” แต่เมื่อเรียงอันดับตามค่าเฉลี่ย 3 ด้าน ที่มีระดับการปฏิบัติ “ต่ำสุด” ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์โรงเรียน ด้านการให้บริการชุมชน และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ตามลำดับ 2. รูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียน (ภาครัฐ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย การดำเนินการตามบทเรียน 6 บทเรียน (แต่ละบทเรียนมี 6 ขั้นตอน) ได้แก่ 1) แนะทำ นำทาง สร้างคุณภาพ 2) ศรัทธา บารมีความดีที่ปรากฏ 3) ประสานคน ประสานใจ ประสานประโยชน์ 4) องค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่ภูมิปัญญาชุมชน 5) ร่วมคิด ร่วมสร้าง อย่างแท้จริง และ 6) รู้เท่า ก้าวทัน มั่นคง ยั่งยืน ตามลำดับ 3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า มีระดับความสำเร็จ ภายหลัง การทดลองใช้รูปแบบตามคู่มือ ฯ ครบ ทั้ง 6 บท เป็นเวลา 4 เดือน ได้ผลการประเมินอยู่ในระดับ “มากที่สุด” และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีความพึงพอใจในระดับ “มากที่สุด” นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7235
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf63.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น