กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7231
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวบ่งชี้และครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ : การประยุกต์แนวคิดโมเดลเคิร์กแพททริคและการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the indictors nd instrument to evlute the effectiveness of the professionl nurses trining project : n ppliction of kirkptrick's model nd theory-bsed evlution pproches
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
พงศ์เทพ จิระโร
สุวิมล ว่องวาณิช
สุเทพ ธุระพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: พยาบาลวิชาชีพ
พยาบาลวิชาชีพ -- การประเมิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
พยาบาลวิชาชีพ -- การฝึกอบรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพตามแนวคิดโมเดลเคิร์กแพททริค และพัฒนาตัวบ่งชี้ที่อธิบายปัจจัย เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพตามแนวคิดการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน 2) พัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ ตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด และ 3) ทดลองใช้เครื่องมือประเมินและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมและผู้บังคับบัญชาของผู้ผ่านการฝึกอบรม จากสถาบันการศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตามสูตรแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .95-.98 มีความตรงเชิงโครงสร้างตามองค์ประกอบที่กำหนดเมื่อวิเคราะห์ด้วยลิสเรล วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ลิสเรล สถิติอ้างอิง และสถิติบรรยาย ได้แก่ t-test ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้สำหรับประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอบรม (เนื้อหา กิจกรรม และวิทยากร) การเรียนรู้ (การรับรู้สมรรถนะของตนเอง, ความรู้ใหม่ และทักษะปฏิบัติการ) พฤติกรรมการปฏิบัติงาน (การปฏิบัติเชิงวิชาชีพ และ การพัฒนางาน) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (สร้างงานใหม่/ นวัตกรรม ประสิทธิภาพ/ ประสิทธิผล และ ความร่วมมือ) และการสนับสนุนจากองค์กร (ความต้องการขององค์กร และการสนับสนุนของผู้บริหาร) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2= 28.78, df = 25, p = .27, GFI = .97, AGFI = .87 และ RMSEA = .04) โดยเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้นมีรูปแบบ เป็นแบบตรวจสอบรายการที่มีจุดตรวจสอบพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรประมาณค่า 4 ระดับ และมีเกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพของการปฏิบัติเป็น 3 ระดับ คือ ปรับปรุง ใช้ได้ และดี ผลการทดลองใช้เครื่องมือประเมินพบว่า สามารถให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับพฤติกรรม การปฏิบัติงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม และผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ใช้เครื่องมือประเมินเห็นว่า เครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์อย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของผู้ผ่านการอบรม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7231
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น