กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7223
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.advisorธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.authorดิลก คำคูเมือง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:39:00Z
dc.date.available2023-05-12T03:39:00Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7223
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 86 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.27-0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.34-0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้จำนวนครูร้อยละ 91.9 และจำนวนบุคลากรร้อยละ 8.1 2. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา และการบริหารงานสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก ระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านอำนาจเชี่ยวชาญ (X4) อำนาจตามกฎหมาย (X3) และด้านอำนาจให้รางวัล (X1) สามารถร่วมกันทำนายการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมือง พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 63.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเขียนเป็นสมการพยากรณ์ การบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Ŷ = .82 + .33 (X4) + .28 (X3) + .20 (X1) ẑ = .38 (Z4) + .32 (Z3) + .25 (Z1)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนเทศบาล -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน
dc.subjectความสามารถทางการบริหาร
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeA study of reltionship between power function-ins nd tsk voction of Municipl Schools Phnt Nikhom, Chonburi
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationship between Power exercise and take avocation of Municipal Schools in Phanat Nikhom, Chonburi. The research sample were 86 teachers, selected by Stratified Random Sampling technique. Research instrument was a five rating scale questionnaire on Power exercise and Task Avocation of Municipal Schools, The discriminant was power of the Questionnaire between .27-.84 and confident were .92 and reliability of .96. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product correlation efficiency and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. The analysis data of the answers were 91.9 percent from teachers and 8.1 percent from administrators. 2. The relationship between power exercise and task avocation of municipal schools Phanat Nikhom Chonburi. Were found at high level. 3. The correlation between power function-ins and task avocation of municipal schools in Phanat Nikhom, Chonburi were at the moderate to nearly high level, which statistically significant at .05 level. 4. The power exercise of administrators on the expert power (X4), the legitimate power (X3) and the reward power (X1) were cooperatively predict task avocation of municipal schools at 63.40 percent and the predictive by score and standard score equations of task avocation of municipal schools were as follows. Ŷ = .82 + .33 (X4) + .28 (X3) + .20 (X1) ẑ = .38 (Z4) + .32( Z3) + .25 (Z1)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น