กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/717
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุจินดา ม่วงมี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.available2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/717
dc.description.abstract"การฝึกสอน" ถือเป็นส่วนสำคัญของการผลิตครู อาจารย์นิเทศน์และกระบวนการนิเทศเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อสัมฤทธิผลของการฝึกสอน หากอาจารย์นิเทศก์ และกระบวนการนิเทศ เป็นไปตามบทบาทและหน้าที่อย่างเหมาะสม ย่อมนำมาซึ่งความพึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูที่สำคัญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการ เกี่ยวกับการฝึกสอนมาเป็นเวลาประมาณ 50 ปี แต่การวิจัยเกี่ยวกับการฝึกสอนยังมีน้อย ยังขาดข้อมูลที่จะนำมาสู่การพัฒนางานทางด้านนี้ การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์นิเทศก์ตามการรับรู้ของนิสิตฝึกงาน อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ แบบสอบถามปลายปิดประกิบด้วยบทบาทและหน้าที่ดดยทั่วไปของอาจารย์นิเทศก์ 14 รายการของเอ็นซ์ (Enz) ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว ถูกส่งไปให้อดีตนิสิตฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ออกปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ในช่วงระยะเวลาการฝึกสอน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามดังกล่าวได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับมา จากนิสิต 157 คน อาจารย์พี่เลี้ยง 97 คน และอาจารย์นิเทศก์ 26 คน สาระสำคัญหลักของแบบสอบถามคือ ให้กลุ่มตัวอย่างจัดอันดับความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์นิเทศก์ ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ผลวิจัยพบว่า อาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ จัดอันดับความสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของอาจารย์นิเทศก์ เรียงจากสำคัญที่สุดคือ 1) สังเกตแผนการสอนและการสอนของนิสิตฝึกสอน รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) 2) ส่งเสริมและให้กำลังใจนิสิตฝึกสอนในการปฏิบัติการฝึกสอน และ 3) อำนวยความสะดวกในการพบพูดคุยกันระหว่างนิสิตฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ ในขณะที่กลุ่มของนิสิตฝึกสอน จัดอันดับความสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของอาจารย์นิเทศก์ เรียงจากสำคัญที่สุด 3 ประการคือ 1) ส่งเสริมและให้กำลังใจนิสิตฝึกสอนในการปฏิบัติการฝึกสอน 2) สังเกตแผนการสอนและการสอนข้องนิสิตฝึกสอน รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับ(feedback) 3) อำนวยความสะดวกในการพบพูดคุยกับข้อมูลป้อนกลับระหว่างนิสิตฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ ในส่วนที่เป็นบทบาทของอาจารย์นิเทศก์นั้น นิสิตเห็นว่าบทบาทสำคัญที่สุดเรียงตามลำดับคือ 1)บทบาทด้านการเป็นพี่เลี้ยง ที่คอยให้คำแนะนำ ประคับประคองนิสิตอย่างใกล้ชิด พร้อมให้คำแนะนำช่วยเหลือ และเข้าใจความรู้สึกของนิสิต 2) บทบาทด้านเป็นผู้ตีความ หรือให้คำอธิบายต่างๆ และ3) บทบาทที่เป็นทรัพยากรทางวิชาชีพในขณะที่อาจารย์นิเทศก์เองและอาจารย์พี่เลี้ยง เห็นว่าบทบาทสำคัญของอาจารย์นิเทศก์คือ 1)การเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำ ประคับประคองนิสิต 2)บทบาทที่เป็นทรัพยากรทางวิชาชีพ หรือทรัพยากรต่างๆ และ3) บทบาทที่เป็นผู้ตีความและให้คำอธิบายต่างๆ ข้อทูลการวิจัยครั้งนี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่า หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของอาจารย์นิเทศก์คือ การตรวจแผนการสอน สังเกตแผนการสอน และให้ข้อมูลป้อนกลับนิสิต และการส่งเสริมให้กำลังใจนิสิตฝึกสอน ส่วนบทบาทที่สำคัญที่สุดที่อาจารย์นิเทศก์ต้องแสดงคือ การเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คะแนะนำ ประคับประคองนิสิตให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการนิเทศการศึกษา - - วิจัยth_TH
dc.subjectการฝึกสอน - - วิจัยth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัย - - วิจัยth_TH
dc.titleบทบาทและความรับผิดชอบของอาจารย์นิเทศก์ตามการรับรู้ของนิสิตฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์th_TH
dc.title.alternativeRoles adn responsibilities of a university supervisor as perceived by student teachers, school supervisors, and university supervisorsen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeStudent teaching is an integral part of a teacher education program. University supervisor and supervision process play key roles in the success of a student teaching program. Effective supervisor and supervision process bring about satisfaction among all involved and undoubtedly contribute to professional development of teachers. Burapha University (BUU) faculty of Education has conducted student teaching for near 50 years, however, only limited number of research related to student teaching has been carried out. Thus the faculty is in the state of lacking research evidence to make this aspect of work move forward. The primary objective of this research was to study roles and functions of university supervisors as perceived by student teacher, school supervisors and university supervisors as perceived by student teachers, school supervisors and university supervisors. A set of closed-end questionnaires containing 14 roles and functions of university supervisor developed by Enz were distributed to former student teachers (ST), school supervisors (SCHS) and university supervisors (BUUS) participating in the 2003 BUU Faculty of Education Student Teaching Practicum (November 2003 - February 2004). Completed set of questionnaires were returned by 157 ST, 72 SCHS and 27 BUUS. Key request in the questionnaire was to have the three groups of respondents rank, according to their perception, the roles and functions of a university supervisor in order of importance. Result showed that SCHS and BUUS perceived that three main functions of a university supervisor were checking and give advice on "Lesson plan" including a feedback; create a situation in which a student teacher is motivated to perform; and facilitating the performance. Student teachers also perceived in a similar way except that creating a situation in which they were motivated to perform received top priority and checking and give advice on their lesson plan was ranked second. With regard to the roles of a university supervisor, all three groups of respondents felt that the most important role was the "mentor" role. While the "interpreter" role was ranked second and "professional resource" role was third in view of supervisors, student teachers perceived "interpreter" role as second and "professional resource" role as third. It can be concluded from the existing data that key function of a university supervisor were checking of student teacher's lesson-plan, observing teaching performance, and provide feedback; and create a friendly atmosphere to motivate a student teacher to perform. The pivotal role of a university supervisor was to act as a "mentor" to a student teacher.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p31-46.pdf2.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น