กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7152
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดียเรื่อง การออกเสียงพินอิน วิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of crtoon mutimedi instruction on pronuncition Chinese Pinyin for Prthomsuks 3 Students Assumption College Srirch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูเบศ เลื่อมใส
ดวงพร ธรรมะ
หลี่, อาน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
Yan, Li
คำสำคัญ: ภาษาจีน -- การออกเสียง
ภาษาจีน --ตำราสำหรับชนต่างชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) -- การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดียเรื่องการออกเสียง พินอิน วิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1 / E2 เท่ากับ 85/ 85 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การออกเสียงพินอินของภาษาจีนก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย เรื่องการออกเสียง พินอิน วิชาภาษาจีน ผู้วิจัยได้ดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา โดยมีกระบวนการพัฒนาบทเรียน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดียเรื่องการออกเสียงพินอิน 2) แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดียเรื่องการออกเสียงพินอิน 3) แบบทดสอบวัดการออกเสียงพินอินภาษาจีน ก่อนและหลังเรียน 4) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดียเรื่องการออกเสียงพินอิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 ของโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 47 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติในการแจกแจงแบบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย เรื่องการออกเสียงพินอิน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 ด้านสื่อเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 2) ผลการวิเคราะห์เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพของบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย เรื่องการออกเสียงพินอิน เท่ากับ 87.63/ 87.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 85/ 85 3) ผลการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การออกเสียง พินอินของภาษาจีนก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดีย เรื่องการออกเสียง พินอิน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนการ์ตูนมัลติมีเดียเรื่องการออกเสียงพินอิน พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7152
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น