กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/714
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พัชรินทร์ พูลทวี | th |
dc.contributor.author | สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ | th |
dc.contributor.author | นิสากร กรุงไกรเพชร | th |
dc.contributor.author | วันดี โตรักษา | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:53:03Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:53:03Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/714 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและชุมชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคตะวันออก ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้แทนองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในชุมชน ประกอบด้วย 1) พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตัวแทนของครอบครัวของเด็กนักเรียน 2)ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับสุขภาพเด็กนักเรียน 3)พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4)ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5)แกนนำชุมชน 6)ผู้แทนองค์กรอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มแม่บ้าน ประชาชน จากการสุ่มตัวอย่าง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว ทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดละ 1 ตำบล ที่มีพยาบาลวิชาชีพให้ความร่วมมือในการวิจัย มีโรงเรียนในพื้นที่ และยินดีร่วมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สุ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้าน และ 2 ชุมชน ทำการวิจัยโดยการจัดทำเวทีประชาคม การสะท้อนข้อมูลให้กับตัวแทนสถาบันต่างๆ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การทำกิจกรรม การสังเกต การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีให้ข้อมูลจากหลายแหล่งร่วมกัน (Triangulation method) และการสะท้อนข้อมูล (Reflection) ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ยืนยันความถูกต้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและในชุมชน องค์กรหลักที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการดำเนินการด้านสุขภาพเด็กวัยเรียนผ่านทางกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ การจัดการสุขภาพที่พบ ได้แก่ การจัดการด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก สุขภาพอนามัยของเด็กในโรงเรียน และการแพร่ระบาดของสารเสพย์ติด 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนาโดยนัดประชุมผู้นำชุมชนเพื่อทราบปัญหา หรือสถานการณ์สุขภาพของชุมชนที่ได้จากการทำประชาคมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนองค์กร, ร่วมกันวิเคราะสาเหตุกำหนดแนวทางแก้ไข, ร่วมกันกำหนดการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาตามโดยกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ, การดำเนินกิจกรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและทำการประเมินผล เมื่อเกิดกระบวนการพัฒนาทำให้ชุมชนเรียนรู้จักการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยชุมชนและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2551 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การมีส่วนร่วมของประชาชน | th_TH |
dc.subject | บริการสุขภาพในโรงเรียน | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนภาคตะวันออก | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2553 | |
dc.description.abstractalternative | This Participatory action research aims to study and develop “Health management model for the school children in schools as well as communities” on the basis of community participation in the eastern region of Thailand. Samples are the corporate representatives of several organization, who involve in health care for school children in the communities, include 1)parents, guardians, and family representatives 2) school directors and respective teachers 3) nurse and public health staff 4) leaders of local government 5) community leader 6) leaders of other organization. Rayong and Sakaew were random, and then selected one sub-district from each of them where the professional nurse (who are responsible for school health) participate and cooperated willingly for this research. 5 village areas in both sub-districts were random. Community forum, data reflection, and in-depth interviews was done by the researcher and her helpers who were trained. In order to verify the accuracy of the data used triangulation method and reflect that data back to related person. The Content analysis was done. The Results are as follow … 1. According to the study of health management in the communities, the outstanding main organizations are schools, communities and local organizations that provide health care activities and projects for school children. 2. Those health management involve nutrition, exercise, sexual behavior, Dengue Prevention, sanitation and drugs. 3. Development model on health management for school children on the basis of community participation includes the process of pre-development by helping the community leaders to realize their problems and health situations in which was know by community forum and deep interview. The researcher team and the community leaders work together on problem analysis and solution set. In order to solve the community problems, the public policy is set and the intervention and evaluation are done by focusing on Community participation. This developing process has enlightened the community to learn how to set up health system by themselves in order to meet their needs. And it is a possible guide line to develop health care model for different groups further. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_139.pdf | 5.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น