กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7145
ชื่อเรื่อง: ระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A virtul techer professionl development community system for bsic eduction in Northern Thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
ธงชัย เส็งศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ชุมชนกับโรงเรียน
บุคลากรโรงเรียน
ครู -- การรับรองวิชาชีพ
ครู
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (VTPDC) โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (2) เพื่อศึกษาผล การทดสอบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (3) เพื่อประเมิน ความพึงพอใจของครูที่มีต่อระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ และ (4) เพื่อรับรองระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ จากผู้ทรงคุณวุฒิ การดำเนินการวิจัยและพัฒนาใช้แนวคิด 7 Steps model (R3D4) ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาองค์ความรู้หรือเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นแบบชิ้นงาน จากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) ประเมินความต้องการต้นแบบชิ้นงาน จากครูประจำการจำแนกตามวิทยฐานะ ด้วย การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ผู้ซึ่งสมัครใจให้ข้อมูล จำนวน 15 คน จากการวิเคราะห์ผลขั้นตอนที่ 1 และ 2 (3) พัฒนากรอบแนวคิดต้นแบบชิ้นงาน (4) ถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ครูเชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (5) ร่างต้นแบบชิ้นงานระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (6) ทดสอบและรับรองต้นแบบชิ้นงาน โดยการทดลองระบบ กับกลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 39 ที่สมัครใจร่วมชุมชนเพื่อพัฒนาตนเอง จำนวน 3 ชุมชน ๆ ละ 10 คน 30 คน และ รับรองระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และ (7) ปรับปรุงและเขียนรายงานระบบ ผลการวิจัย ด้านองค์ประกอบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ พบว่า มี 6 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ชุมชนกัลยาณมิตร (2) ความรู้ (3) กระบวนการเรียน (4) การพัฒนาวิชาชีพ (5) โครงสร้างสนับสนุนระบบชุมชน และ (6) การวัดและประเมินผล โดยมี 8 ขั้นตอน คือ (1) ก่อตั้งชุมชนพัฒนาวิชาชีพครู (2) เปิดตัวชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริง (3) สร้างแรงบันดาลใจ (4) ชักชวนและยอมรับเข้าร่วมชุมชน (5) ประเมินการเข้าร่วมชุมชน (6) ทำการทดสอบระบบ (7) นำไปใช้และยืนยัน และ (8) ขยายเครือข่ายชุมชน ด้านผลการทดสอบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ พบว่า การพัฒนาวิชาชีพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ด้านการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ครูมี ความพึงพอใจต่อระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.89) และ ด้านการรับรองระบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ ในทุกประเด็น เหมาะสมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.97)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7145
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf10.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น