กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7139
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comprison of lerning chievement nd Chemistry problem solving skills on “solid liquid nd gs” of Mtthyomsuks 4 Students using 5E inquiry lerning cycle model with Poly’s problem solving process nd conventionl |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา ทองสอน เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ จารุวรรณ จันทมัตตุการ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้ น (5E) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และการจัดการเรียนรู้แบบปกติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชํานาญสามัคคีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 จํานวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 35 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้ น (5E) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และกลุ่มควบคุม จํานวน 35 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ANCOVA (Analysis of covariance) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊สของ นักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7139 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น