กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/710
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | อำพล ธรรมเจริญ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:53:03Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:53:03Z | |
dc.date.issued | 2534 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/710 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษ่าผลของการเดาตอบข้อสอบคัดเลือกที่เป็นข้อสอบแบบฟรนัยแบบเลือกตอบ โดยศึกษาผลที่สำคัญของการเดาตอบคือ ความไม่ยุติธรรม (ผู้ที่มีความรู้น้อยกว่าเป็นผู้สอบได้และผู้ที่มีความรู้มากกว่าเป็นผู้สอบตก) และความไม่เหมาะสม (ผู้ที่มีความรู้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ควรจะสอบได้เป็นผู้สอบได้) ปรากฏว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสมมีค่าขึ้นอยู่กับ จำนวนตัวเลือกในข้อสอบแต่ละข้อ จำนวนข้อสอบ ความยากของข้อสอบ และจำนวนของผู้สอบผ่าน ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรม มีค่าประมาณ .10-.30 ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่าประมาณ .08-.49 1. เกี่ยวกับจำนวนตัวเลือก ในทุกๆแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนตัวเลือกน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบมีจำนวนตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น 2. เกี่ยวกับจำนวนข้อ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมมีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อมากขึ้น ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม (ส่วนใหญ่ในค่าที่คำนวน) มีค่าน้อยเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อน้อย และมีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อมากขึ้น 3. เกี่ยวกับความยากง่ายของข้อสอบในทุกๆแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อข้อสอบยาก และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบง่ายขึ้น หรือความยากลดลง 4. เกี่ยวกับจำนวนที่รับได้หรือจำนวนผู้สอบได้ในทุกๆรูปแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อจำนวนรับน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อจำนวนรับมากขึ้น ข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ ควรใช้ข้อสอบที่มีค่าความน่าจะเป็นดังกล่าวมีค่าน้อย ดังนั้นควรใช้ข้อสอบที่มีจำนวนที่มีจำนวนตัวเลือกมาก (5 ตัวเลือก) และข้อสอบควรจะง่าย | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2534 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การสอบ | th_TH |
dc.subject | ข้อสอบปรนัย | th_TH |
dc.subject | ความน่าจะเป็น | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ | th_TH |
dc.title | ความยุติธรรมและความเหมาะสมของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่ใช้ในการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน: วิเคราะห์โดยความน่าจะเป็น | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2534 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น