กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7105
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model of worldclss stndrd school of secondry schools under the office of bsic eduction commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประยูร อิ่มสวาสดิ์ สุรัตน์ ไชยชมภู พรศักดิ์ ทิพย์วงษ์ทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา -- มาตรฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัย เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับแนวคิด และหลักการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล จากโรงเรียนมาตรฐานสากล 10 โรงเรียน ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Content analysis) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบจำลอง อิสระ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้เทคนิค เดลฟาย (Delphi) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 17 ท่าน โดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 4 การสรุปและนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น ได้แก่ รูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ (Leadership) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) การมุ่งเนน้ผู้รับบริการ (Student and stakeholder focus) การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (Measurement analysis and knowledge management) การมุ่งเน้นบุคลากร (Faculty and staff focus) การจัดกระบวนการ (Process management) และผลลัพธ์ (Performance results) ในมิติขององค์ประกอบด้านคุณภาพผู้เรียน องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล และองค์ประกอบด้านบริหาร จัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality system management) ย่อมส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการจัดการศึกษา |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7105 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น