กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7099
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประยูร อิ่มสวาสดิ์ | |
dc.contributor.advisor | ชัยพจน์ รักงาม | |
dc.contributor.author | ตรีชนนันท์ วงษ์สกุลไชยะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:33:23Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:33:23Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7099 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบปัญหา และศึกษาแนวทาง การแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ในด้านการปฏิบัติงาน 5 ด้าน จำแนกตามเพศ ขนาดโรงเรียน และฟังข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้ช่วยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 107 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครจชี่ และมอร์แกน (1970, หน้า 607-610) ซึ่งใช้การวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาด ของโรงเรียน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้ควบคุมดูแลครูผู้ช่วย จำนวน 4 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์มีลักษณะแบบมีโครงสร้าง ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .39-77 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงอันดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านการพัฒนาทางวิชาการ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการพัฒนาโรงเรียน 2. เปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมและเป็นรายด้านแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 3 ด้าน ที่ควรนำไปปรับใช้มากที่สุด 3.1 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน โรงเรียนควรให้ความร่วมมือกับชุมชนในทุกด้าน ที่สำคัญอีกประการ คือ ครูผู้ช่วยต้องเปิดใจให้ความร่วมมือกับชุมชน และทางโรงเรียน ควรจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน 3.2 ด้านการพัฒนาวิชาการ โรงเรียนควรจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก มีการพัฒนานวัตกรรมการสอน การใช้เทคโนโลยีในการสอน และการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 3.3 ด้านการพัฒนาผู้เรียน ครูนิเทศควรช่วยแนะนำครูผู้มีประสบการณ์ และความสามารถในการจัดกิจกรรม คณะครูควรพาผู้เรียนออกศึกษานอกสถานที่ และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเป็นประจำ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | บุคลากรโรงเรียน | |
dc.subject | ครู -- ภาระงาน | |
dc.subject | บุคลากรทางการศึกษา | |
dc.title | การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยตามหลักสูตรการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 | |
dc.title.alternative | A study of problems nd solutions on opertions of ssistnt techers in intensive preprtion nd development curriculum under the office of Chnthburi primry eduction, re 1 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research was a study concerning of problems and solutions on operation of assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1. The objective of the study were to study and compare problems on operation of assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1 in 5 aspects. The result of this surly was reported based on opinion classified by genders and school sizes who were of research participants assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1. The samples was 107 assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1 working in the academic year of 2016. Stratified random sampling was used to identify the size of school and participants in this study. The item discrimination power of this questionnaire was between .39-.77 and the reliability of this questionnaire was .97. Data was collected by this questionnaire and a structured interview. Statistical methods were used for analyzing data were Mean, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA and Scheffe’ post hoc paired comparisons. The results revealed that: 1. Problems on operation of assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1 were at a moderate level. The 4 major problem of assistant feachers in this study were academic development, learners’ development, learning management, and educational institution development. 2. Comparison of Problems on operation of assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1 found that assistant teachers who have different gender Showed no statistical significant difference regarding operation problems. Hewer, assistant teachers with gender differences had 2 problems 1) learning management, and 2) educational institution development. This was also the case when comparing teachers from different school sizes which reported statistically significant difference of .05 level both in overall and in each aspect. 3. The solutions on operation of assistant teachers under the Office of Chanthaburi Primary Education Area 1 could be concluded as follows; 3.1 Problems on community relationship- Schools should cooperate with the community in all aspects. The assistant teachers should open their mind to work with the community and schools should arrange some beneficial activities to the community. 3.2 Problems on academic development-Schools should apply some children-based learning activities and encourage teacher to develop their teaching innovation and build more teams. 3.3 Problems on learners’ development-Staffs should invite experts and organize activities which encourage teachers to develop themselves regularly. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | การศึกษามหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น