กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7094
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorศิริวิมล โพธิ์ไข่
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:22Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:22Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7094
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับของวัฒนธรรมองค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้ และความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ตามตารางของ Krejcie and Morgan ซึ่งได้จาก การสุ่มอย่างง่าย (Sample random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วัฒนธรรมองค์การ ของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .36-.89 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 และองค์การ แห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .40-.88 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 8 ด้าน เรียงอันดับจาก มากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การตัดสินใจ ความไว้วางใจ และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 2. ผลการศึกษาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านแล้วเรียงอันดับจาก มากไปน้อย 3 อันดับ ได้ดังนี้ ด้านการบริหารความรู้ ด้านพลวัตรแห่งการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยี 3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านระหว่างวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนกับองค์การแห่งการเรียนรู้ ความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง 2 ด้าน เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความหลากหลายของบุคลากร และด้านการยอมรับ และความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 8 ด้าน เรียงอันดับความสัมพันธ์จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความไว้วางใจ ด้านความมีคุณภาพ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเอื้ออาทร ด้านความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน ด้านการตัดสินใจ ด้านการเสริมพลัง และด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การ
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
dc.title.alternativeReltions between orgniztion culture nd lerning orgniztion of school in Skeo Primry Eductionl Service Are Office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the level of organizational culture, learning organization and relations between organization culture and learning organization of school in Sakeao Primary Educational Service Area Office 1. The sample used in this study was 313 teachers in Sakeao Primary Educational Service Area Office 1. The criteria used to determine the size of the sample was suggested based on Krejcie & Morgan’s table. The instrument used in this research was a five-point scale questionnaire, with the item of organizational culture showed discriminative power between .36-.89 and the reliability of .98. The item of learning organization showed discriminative power between .40-.88 and the reliability of .97. The statistics used to analyze the data was Mean ( ), Standard Deviation (SD), and Pearson’s Correlation Coefficient. This study revealed that: 1. The level of organizational culture of school in Sakeao Primary Educational Service Area Office 1as a whole was in medium level. The level of organizational culture of school in Sakeao Primary Educational Service Area Office 1 in each aspect was at a high level. Putting the core value of the organizational culture in order from high to low could be Decision Making, Trust, and Sense of School. 2. The level of learning organization of school in Sakeao Primary Educational Service Area Office 1 as a whole and each aspect was at a high level. The top 3descending were: Knowledge Management, Learning Dynamics, and Technology Application. 3. The relations between organization culture and learning organization of school in Sakeao Primary Educational Service Area Office 1 as a whole was at a high level. While Diversity and Recognition were found at a high level, Trust, Quality, Integrity, Caring, School Purpose, Decision Making, Empowerment, and Sense of School were respectively rated at a medium level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น