กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7089
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์
dc.contributor.advisorมนตรี แย้มกสิกร
dc.contributor.advisorพรรณวลัย เกวะระ
dc.contributor.authorพัชรี ทองอำไพ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:21Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:21Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7089
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาครูประจำการในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครู โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน เป็นการดำเนินการวิจัย โดยผสานวิธีวิจัยร่วมกันระหว่างการวิจัยและพัฒนา (Research and development) และแนวคิดของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยมีครูเป็นผู้ร่วมลงมือปฏิบัติการจริง กระบวนการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาต้นแบบระบบ ระยะที่ 2 การนำระบบไปใช้ในสถานการณ์จริง และระยะที่ 3 การประเมินเพื่อรับรองระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเป็นครูที่ผ่านการอบรมจากโครงการวิจัยและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษบูรณาการสู่มาตรฐานสากลในเครือข่ายโรงเรียน EIS: English for Integrated Studies และเป็นผู้สมัครใจเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ดำเนินการในช่วงภาคการศึกษาที่ 1/2560 ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1. ระบบการพัฒนาครูประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครู โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน มีชื่อเรียกว่า “ICT4EIS” มาจากค าว่า “Information and Communication Technology for English in Content Classrooms for Teacher” องค์ประกอบของระบบถูกจัดระเบียบความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา (Goal setting) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson planning) ขั้นตอนที่ 3 สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน (Learning activities) ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนา (Reflection) และขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการวงรอบใหม่ (A new round) 2. ประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาครูประจำการฯ โดยภาพรวมพบว่า เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาการสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครู ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ครูเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนสมาชิกในชุมชนการ เรียนรู้วิชาชีพ 2) ครูเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง จนสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตามเป้าหมาย เกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ของตน และ 3) ครูใช้ภาษาอังกฤษสลับกับภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้และสื่อสารในชั้นเรียน เป็นลักษณะของการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน 3. ผลการประเมินการพัฒนาระบบ พบว่า 3.1 ปัจจัยที่มีความจำเป็นที่จะทำให้กระบวนการพัฒนาตนเองของครูสำเร็จลุล่วง คือ ผู้บริหารโรงเรียน กระบวนการติดตามการดำเนินงาน การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ การเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองของครู และวัฒนธรรมขององค์กรที่มีความเข้มแข็ง 3.2 แนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) ของครูที่นำระบบการพัฒนาครูประจาการฯ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ครูให้ผู้เรียนศึกษาล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมของตนเอง รูปแบบที่ 2 ครูดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในชั้นเรียนก่อน หลังจากนั้นจึงจะสอนเป็นภาษาไทยควบคู่กันไป และรูปแบบที่ 3 สำหรับครูที่ยังไม่มีความชำนาญ จะเน้นการใช้สื่อในรูปแบบภาษาอังกฤษที่ทันสมัย มีความน่าสนใจ เพื่อกระตุ้น ความสนใจของผู้เรียน 3.3 ความพึงพอใจของครูหลังจากที่ร่วมพัฒนาตามระบบ พบว่าอยู่ในระดับมาก ครูเกิดความมั่นใจและสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารผ่านวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น มีความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาการสอนของตนเอง สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองตามหลักของชุมชนการเรียนรู้ วิชาชีพ และใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างเหมาะสม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectครู
dc.subjectสมรรถภาพในการทำงาน
dc.subjectครู -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.titleการพัฒนาระบบพัฒนาครูประจำการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาระของครูโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐาน
dc.title.alternativeDevelopment of n in-service techer trining to enhnce teching competence in english integrted content clssrrom using technology-bsed pproch
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop an in-service teacher training system for developing of learning management competency by integrating English into the subject using information and communication technology-based approach. The research is conducted by using Research and Development (R&D) and the concept of Participatory Action Research (PAR). The research process consisted of three phases: Phase 1 creating and developing of a system model, Phase 2 implementing the system into real situations, and Phase 3 evaluating of the system by experts. Purposive sampling was used to obtain the sample in this research. The participants were 7volunteer teachers participating in the training from the project on Research and Development of the teachers in sciences, mathematics, and computer using English for Integrated Studies (EIS), conducted in the semester 1/2017. The research result revealed as follows: 1. The in service teacher training system for developing learning management competency by integrating English into the subject using information and communication technology-based approach was called “ICT4EIS” standing for “Information and Communication Technology for English in Content Classrooms for Teacher, which has the components of the system continuously organized in terms of relation with 4steps, they were; 1) goal setting 2) lesson planning 3) learning activities 4) reflection and 5) a new round ช 2. The efficiency of the in-service teacher training system, in overall, was that the system is efficient and is able to develop learning management competency by integrating English into the subject using information and communication technologybased approach with three reasons; 1) teachers learn together with fellow members in the professional learning community, 2) teachers learn from self-practice, trying their best to develop learners to achieve their goals and being a best practice for themselves, and 3) teachers use English and Thai in learning and classroom communication, it is the nature of learning along with the learners. 3. The evaluation of the system was found that; 3.1The necessary factors to drive the self-development process of the teacher successfully are the school administrator, follow-up process, strengthening cooperation among members in the professional learning community and inspiration in self-development of the teachers, and the strong culture of the organization. 3.2The best practices of teachers who participated in In-service teacher training system consisted of three models; firstly, teacher allows students to be selfready, secondly, teacher teaches with English in classroom before teaching with Thai, and, the third model is for teachers who are not skillful will focus on using the media in a modern English style to excite the students. 3.3Teachers’ satisfaction after participation in the development system was found at a higher level. Teachers have confidences in using English to communicate in sciences, mathematics and computer. They understand the process of developing their own teaching and are able to use information and communication technology for selfdevelopment in accordance with the principles of professional learning community and classroom management
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น