กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7086
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorฉัตรติยา ลังการัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:20Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:20Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7086
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง (2) วิเคราะห์องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง และ (3) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 500 คน ซึ่งได้มา โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ และแบบสอบถามการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ประกอบด้วย ปัจจัยคุณลักษณะภายในและ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดของปัจจัยคุณลักษณะภายใน คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.80 ส่วนตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด ของปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก คือ การสอนของครู มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.83 2. ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ประกอบด้วย ด้านความคิดคล่อง ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดละเอียดลออ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.26 ถึง 0.98 ด้านที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด คือ ด้านความคิดคล่อง 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ปรับเป็นโมเดลประหยัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบ เท่ากับ 35.50 ค่า P-value เท่ากับ 0.49 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 36 ค่า /df เท่ากับ 0.99 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ปัจจัยที่อิทธิพลทางตรงต่อ ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ คือ ปัจจัยคุณลักษณะภายใน และปัจจัยที่อิทธิพลทางอ้อมต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะ คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ผ่านปัจจัยคุณลักษณะภายใน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง
dc.title.alternativeThe cusl model of rt’s cretive thinking of Mttyomsueks Three Students in Ryong
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to; (1) analyze the factors those affected art-creative thinking of mattayomsueksa three in Rayong province, (2) analyze the factors of art-creative thinking of those students, and (3) develop a causal relationship model that effects on art-creative thinking of those students. Participants of this study were 500 students selected by multi-stage random sampling from mattayomsueksa three students in 2016. Two types of instruments were used to collect data were Art-creative thinking test, and the questionnaires on factors affecting art-creative thinking. Data were analyzed for descriptive statistics and correlation coefficients between observed variables through SPSS for Windows, while the analysis of the causal relationship model was done through LISREL 8.72. Results revealed that; 1. The factors affecting art-creative thinking consisted of intrinsic variables and environmental factors. The highest factor loading value of intrinsic factors was achievement at motivation (0.80) and the highest factor loading value of environmental factors was teacher’s pedagogy (0.83). 2. Art-creative thinking consisted of fluency of thinking, originality of thinking, flexibility of thinking, and elaboration of thinking (0.26 - 0.98). The highest factor loading value was fluency of thinking. 3. The adjusted model was consistent with empirical data ( 2 = 35.50, p-value = 0.49, df = 36,  2/df = 0.99, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, RMSEA = 0.00). The direct factor affecting art-creative thinking was intrinsic factor, while the indirect factor was environmental factor which was affected through the intrinsic factor.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น