กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7080
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorญาณิศา ประสิทธิ์ผล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:19Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:19Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7080
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน ในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามเพศ และอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้ตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie& Morgan, 1970, p. 608) ได้จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .22-.53 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบหาความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบำรุงรักษา บุคลากร และด้านการสรรหาบุคลากร ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่าการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบพบว่าการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านการให้บุคลากร พ้นจากงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 21 ปีขึ้นไป มีการพัฒนาบุคลากรและการให้บุคลากรพ้นจากงานสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ต่ำกว่า 10 ปี
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- ระยอง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน -- การทำงาน
dc.subjectการบริหารงานบุคคล
dc.titleการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในเขตอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
dc.title.alternativePersonnel mngement of schoolsin Plukdeng district, under The Ryong Primry Eductionl Service Are Office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate and to compare personnel management of schools in Pluakdaeng District, under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1, as classified by gender, and age. The sample consisted of 208 teachers and educational personnel of schools working in the academic year 2016 in Pluakdaeng District, under the Rayong Primary Service Area Office 1. The tool was 40-item, rating-scale questionnaire, having the discriminating power between .22-.53 and the reliability at .92. Mean, standard deviation, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. The findings were as follows: 1. The mean scores of personnel management of schools in Pluakdaeng District, under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1, as a whole and in each particular aspect, were rated at a high level. The first three highest mean scores, were the aspects of retire, personnel development, personnel maintenance, and personnel recruitment, respectively. 2. On the comparison of personnel management of the schools, as classified by gender, was no found different. 3. On the comparison of personnel management of the schools, as classified by work experience, was not found different, except in the aspects of personnel development and retire in which there were significant differences at the statistical level of .05. Teachers and educational personnel with more than 20 years of work experience were found having higher personnel development and retire than those with less than 10 years of work experience.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น