กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/707
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ | th |
dc.contributor.author | เอกวิทย์ มณีธร | th |
dc.contributor.author | กรทิพย์ ศรีเรืองเมตตา | th |
dc.contributor.author | กัญญาภัค อยู่เมือง | th |
dc.contributor.author | ธีระพงษ์ ภูริปาณิก | th |
dc.contributor.author | สมคิด เพชรประเสริฐ | th |
dc.contributor.author | สโรชา แพร่ภาษา | th |
dc.contributor.author | กรุงไท นพรัตน์ | th |
dc.contributor.author | พศวัต ผลิตนนท์เกียรติ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:53:03Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:53:03Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/707 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดในระบบการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาในกลุ่มภาคตะวันออก : กรณีศึกษา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพื่อการพัฒนาในฐานะเป็นผู้ชี้นำทางยุทธศาสตร์ (Strategic Leadership) ผู้ประสานเชิงกลยุทธ์และผู้สนับสนุน (Strategic Coordinator and facilitator) และผู้ปฏิบัติ (Implemeter) 2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการในกลุ่มภาคตะวันออกโดยการประเมินจากผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการที่สังกัดสำนักงานจังหวัด และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการบริหารงานและการส่งเสริมบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยกำหนดขอบเขตในการศึกษา คือ หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคที่สังกัดสำนักงานจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ คือ 1) การวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) 2) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ซึ่งได้แก่ ระดับหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน และ 3) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ทั้งแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) และการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานยุ?ศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในแต่ละจังหวัด ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ภาพรวมของบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดตามการรับรู้ อยู่ในระดับมาก คือมีค่าเฉลี่ย 3.67 และภาพรวมของบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดตามการคาดหวังอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน คือมีค่าเฉลี่ย 4.27 ซึ่งความต่างกันของค่าเฉลี่ยระหว่างการรับและการคาดหวังนั้นมีความต่าง 0.60 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อย ควรส่งเสริมเติมให้ดีขึ้น ส่วนภาพรวมของบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดตามการรับรู้อันดับแรก คือ ในฐานะผู้ชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ รองลงมาคือ ในฐานะผู้ปฏิบัติ และในฐานะผู้ประสาน กลยุทธ์และผู้สนับสนุน ตามลำดับ และภาพรวมของบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดตามการคาดหวัง อันดับแรก คือ ในฐานะผู้ชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ รองลงมาคือ ในฐานะผู้ประสาน กลยุทธ์และผู้สนับสนุน และในฐานะผู้ปฏิบัติ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยมีดังนี้ ได้แก่ บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้ชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเป็นผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ การบูรณาการทุกภาคส่วนในจังหวัดให้นำปัญหา ความต้องการ และศักยภาพของจังหวัด รวมไปถึงข้อได้เสียเปรียบของจังหวัดมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำวิสัยทัศน์กับยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในฐานะผู้ประสานกลยุทธ์และผู้สนับสนุน ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องให้ความสำคัญสนับสนุนประสานกลยุทธ์ รวมถึงคิดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่เอื้อในการพัฒนาจังหวัด นอกจากนี้ยังต้องมีบทบาทเป็นทั้งผู้ประสานเชิงกลยุทธ์และผู้สนับสนุนในการวางแผน อำนวยการ ประสานงาน สนับสนุน และควบคุมติดตามการบริหารงานทั่วไป เพื่อให้ทุกภารกิจลุล่วงไปด้วยดีตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในฐานะผู้ปฏิบัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องใช้ระบบราชการในการติดตามผล กำกับดูแล และให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบาย This research is to study the role of provincial governors for integrative development administration of four provinces in the eastern region of Thailand including Chonburi, Rayong, Chantaburi, and Trat. Since the CEO approach is a new management style seeking to promote the culture of working as a team, focusing on the mission approach, the research then has set three main objectives. The first objective is to study the role of provincial governors as strategic leadership, strategic coordinator and facilitators, and implementer. The second objective is to understand the actual and expected roles of CEO governors by evaluating from the heads of provincial governmental offices representing the central ministries in each province under the study. The objective is suggest proposals for strengthening and promoting the governors’ administration. This research has employed both qualitative and quantitative methods for studying and understanding the roles of provincial governors which include 1) documentary research, 2) questionnaires for the heads of provincial offices representing the central ministries of each province, and 3) in-depth interviews with governors and their immediate associates such as deputy governors, provincial permanent secretary, heads of the strategic unit of each province. The findings of this research indicate that the actual role in all four provinces, the mean is 3.67. And the mean of expected role of governors is 4.27 role in all four provinces. As for the role of governors as strategic coordinator and facilitator, there is minimal difference between the actual role expected role of governor is 0.60, that shows minimal difference. There is minimal difference between the actual role and expected role of governors as strategic leadership in all four provinces, As for the role of governors as implementer, there is medium difference between the actual role and expected role of governor in Chonburi Province, while the other three provinces including Rayong, Chantaburi and Trat, show minimal difference. In summary, there is minimal difference in the overall picture of the actual roles and the expected roles of governors in terms of strategic leadership, coordinator and facilitator, and implementer in four provinces. This research suggests that the governors as strategic leadership should be in charge of planning and coordinating provincial development by integrating problems, people’s needs, and potentials from all parts in their provinces, as well as their strengths and weaknesses, and then determine the vision and strategy for their provinces. Furthermore, the strategy must be inconsistent with the government’s policy As strategic coordinator and facilitator, the governors should play a vital role in coordinating and facilitating the administrative functions of planning, directing, coordinating, supporting, and controlling for all general administration in order to accomplish the provincial strategy. AS implementer, the governors must play an executive role in following up and controlling the mobilization of strategy and policy. | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การบริหารรัฐกิจ - - ส่วนภูมิภาค - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | นักปกครอง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | ผู้ว่าราชการจังหวัด - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |
dc.title | บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ : กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด | th_TH |
dc.type | Research | |
dc.year | 2550 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น