กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7075
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.advisorสถาพร พฤฑฒิกุล
dc.contributor.authorศิริชัย อ้อนอุบล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:19Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:19Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7075
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการสร้างทีมงานและแนวทางพัฒนาการสร้าง ทีมงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ วิทยฐานะและประสบการณ์ การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .51 ถึง .90 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’s test ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างทีมงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การสร้างทีมงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยจำแนก ตามเพศ และวิทยฐานะ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การสร้างทีมงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยจำแนก ตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม และด้านการสื่อสารที่ดี แตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ 4. แนวทางพัฒนาการสร้างทีมงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย ผู้บริหารควรให้ครูและผู้เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและ แผนพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ผู้บริหารควรให้ครูและผู้เกี่ยวข้องเข้ารับ การอบรมเกี่ยวกับการระดมความคิดและแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน ด้านการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ผู้บริหารควรให้ ครูและผู้เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมการวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการอย่างต่อเนื่อง ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้บริหารควรให้ครูและผู้เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เป็นที่ยอมรับในด้าน ความรู้และความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารควรให้ครู และผู้เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมการนำเสนอผลการสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระดมความคิดในการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสารที่ดี ผู้บริหารควรให้ครูและผู้เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่สำคัญในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการทำงานเป็นทีม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectครู -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectครู
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษา
dc.titleการสร้างทีมงานและแนวทางพัฒนาการสร้างทีมงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternativeTem building nd guided development for tem building of techers under the Chonburi primry eductionl service re office 3
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research were to study and compare team building and to present guidelines for the development of team building of teachers under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 as classified by gender, academic position and work experience. The sample was 317 teachers from schools under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The instrument used in the research was a set of a five rating scale questionnaire its item discrimination was power between .51-.90 and the coefficient reliability was .98. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and Scheffe’s test standard deviation, t-test and one-way ANOVA. The finding of the study as follow: 1. The team building of teachers under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 were at a high level both in general and each aspect. 2. The comparison of team building of teachers under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 classified by gender and academic position in overall was not statically significant difference, but the work experience, in overall and each aspect, was statistically significant difference; except in the area of co-operation and conflict, appropriate leadership, and good communications were not statically significant difference. 3. The guidelines for the development of team building of teachers under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 could by presented as follow: clear objective by administrators should be given to teachers and stakeholders, They should be trained about policy formulation and school developmental plan, co-operation and conflict. Teachers and stakeholders should be trained about how to Brainstorming and co-operation, sound procedures; Teachers and stakeholders should be trained about operational planning in order to achieve the target continuously. Teachers and stakeholders should be trained how to enhance themselves to be acceptable in the knowledge and ability to work. Regular review, Teachers and stakeholders should be trained about presenting result of the analyzed data from their brainstorming to solve a problem. Teachers and stakeholders should receive significant data to operate effictively.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น