กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7061
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธนวิน ทองแพง
dc.contributor.advisorสมุทร ชำนาญ
dc.contributor.authorชุติกาญจณ์ ทองทับ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:42Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:42Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7061
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหาร ของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในอำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 254 คน Krejcie and Morgan (1970) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .66-.90 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .41-.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน (ประถมศึกษา) -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างครูและอาจารย์ใหญ่
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectครูประถมศึกษา -- ความพอใจในการทำงาน -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1
dc.title.alternativeThe reltionship between dministrtive behviorl of school dministrtion nd job motivtion of techer in moung Chonburi district school under the office of primry eductionl service re office 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the relationship between Administrative behaviors of school administrators and job motivation of teachers in schools Moung Chonburi district under the Office of Primary Educational Service Area Office The sample selected in this study was teachers schools in Moung Chonburi district under the Office of Primary Educational Sevice Area Office 1 in 2016 year. There were 254 teachers (Krejcie and Morgan,1970) by stratified random sampling Data collection instrument used in this study was a five-point-rating-scale questionnaire which was spirited into The 2 parts: The first past asked questions concerning administrative behavior of administrators, reliability was at 98 The second past of this questionnaire surveying motivation levels of teachers. The questions in this section had item discrimination between power. 41- 91 and reliability at .98 The statistics used to measure data were Mean ( ), Standard Deviation (SD) and Pearson’s product moment Correletion coefficient . Results 1. Behavioral of school administrators in schoosl Moung Chonburi district under the Office of Primary Educational Service Area Office 1 was at a high level both overall and individual aspect. 2. Job motivation of teachers schools in Moung Chonburi district school under the Office of Primary Educational Service Area Office 1 was at a level both overall and individual. 3. The relationship between administrative behaviors of school administrators and Job motivation of teacher schools in Moung Chonburi district under the Office of Primary Educational Service Area Office 1 was positive with statistically significant at .01
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น