กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7053
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A competency-bsed trining curriculum development of the thi usge to prepre for coopertive eduction by coopertive lerning nd concept of communictive lnguge teching |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา ทองสอน วิมลรัตน์ จตุรานนท์ ชนธี ชำนาญกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ระบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก -- หลักสูตร การวางแผนหลักสูตร ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- หลักสูตร มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิด การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่ม เดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ ทางด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษาที่พัฒนาขึ้น 2) กรอบมาตรฐาน สมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย 5) แบบประเมินสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย 6) แบบวัดเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม 7) แบบติดตามผลหลังการฝึกอบรม และ 8) แบบวัดความพึงพอใจของสถานประกอบการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยก่อนการฝึกอบรมแตกต่างกับหลัง ฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม 3) ผลการประเมินสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยหลังการฝึกอบรมสูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักศึกษามีเจตคติต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม หลังได้รับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก 5) นักศึกษานำความรู้และสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยไป ใช้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก และ 6) สถานประกอบการมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7053 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น