กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7050
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
dc.contributor.advisorกิตติมา พันธ์พฤกษา
dc.contributor.authorปฐมรัฐ คูหา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:39Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:39Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7050
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางชีววิทยา และความสามารถใน การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางชีววิทยา และแบบทดสอบความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยของคะแนน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. มโนทัศน์ทางชีววิทยาและความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. มโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงที่มีต่อมโนทัศน์ทางชีววิทยาและความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
dc.title.alternativeThe effects of inquiry lerning cycle (5e) with concept-bsed instruction in photosynthesis on biologicl concepts nd science communiction bilities of the eleventh grde students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to compare biological concepts and science communication abilities of students before learning with inquiry learning cycle (5E) with concept-based instruction on Photosynthesis with post learning with inquiry learning cycle (5E) with concept-based instruction and to compare biological concepts of students after using inquiry learning cycle (5E) with concept-based instruction on Photosynthesis with the 70 percent criterion. The participants were thirty-three eleventh grade students at Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University, in the second semester of the 2016 academic year. They were selected by using cluster random sampling technique. The research instruments were lesson plans based on inquiry learning cycle (5E) with concept-based instruction on Photosynthesis, the biological concepts test, and the science communication abilities test. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent samples, and t-test for one sample. The findings were as follows: 1. The posttest scores of students’ biological concepts and science communication abilities after using inquiry learning cycle (5E) with concept-based instruction on Photosynthesis were statistically significant higher than the pretest scores at the .05 level 2. The posttest scores of students’ biological concepts after using inquiry learning cycle (5E) with concept-based instruction on Photosynthesis were statistically significant higher than the 70 percent criterion.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสอนวิทยาศาสตร์
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น