กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7045
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพรัตน์ วงษ์นาม | |
dc.contributor.advisor | สมพงษ์ ปั้นหุ่น | |
dc.contributor.author | จงกล บัวแก้ว | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:29:38Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:29:38Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7045 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของค่าพารามิเตอร์ข้อสอบ (อำนาจจำแนก ความยาก การเดา) และพารามิเตอร์ความสามารถผู้สอบระหว่างการประมาณค่าตามโมเดลทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) และการประมาณค่าตามโมเดลทฤษฎีการตอบสนองเทสต์เลท (TRT) 2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าพารามิเตอร์ข้อสอบและพารามิเตอร์ความสามารถผู้สอบที่ประมาณค่าตามโมเดล IRT และโมเดล TRT และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิผลการเชื่อมโยงคะแนนจริงด้วยวิธีโค้งคุณลักษณะแบบสอบ(TS IRT, TS TRT) และ การเชื่อมโยงคะแนนสังเกตได้ด้วยวิธีอิควิเปอร์เซ็นต์ไทล์ (OS IRT, OS TRT) ใช้คะแนนจาก การสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,500 คน ในวิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ จากนั้นวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบประสิทธิผลการเชื่อมโยงจากค่า bias SEE และ RMSE ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ค่าพารามิเตอร์ข้อสอบ (อำนาจจำแนก ความยาก การเดา) ระหว่างวิธีการประมาณค่าตามโมเดล IRT และโมเดล TRT มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งในวิชาภาษาไทยและวิชาภาษาอังกฤษ ส่วนพารามิเตอร์ความสามารถผู้สอบพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในวิชาภาษาอังกฤษ 2. ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าพารามิเตอร์ข้อสอบ (อำนาจจำแนก ความยาก การเดา) และค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบที่ประมาณค่าตามโมเดล IRT และโมเดล TRT แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในวิชาภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาภาษาไทยพบว่าค่าพารามิเตอร์ยากเท่านั้นที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. ประสิทธิผลของการเชื่อมโยงพบว่า ค่า bias น้อยที่สุดเมื่อเชื่อมโยงคะแนนด้วยวิธี OS TRT ค่า SEE น้อยที่สุดเมื่อเชื่อมโยงด้วยวิธี OS TRT และค่า RMSE น้อยที่สุดเมื่อเชื่อมโยงด้วยวิธี TS TRT | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การสอบ | |
dc.subject | การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | การวัดผลทางการศึกษา | |
dc.title | ประสิทธิผลของการเชื่อมโยงคะแนนสำหรับแบบสอบเทสต์เลทตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ | |
dc.title.alternative | Effectiveness of linking score for testlets-test bsed on item response theory | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to; 1) investigate the relationship between the test parameters (discrimination, difficulty, and guessing) and ability parameters by IRT and TRT, 2) compare the standard error of the test parameters and ability parameters by IRT and TRT, and 3) compare the effectiveness of linking of true scores (TS IRT, TS TRT) and linking of observed scores (OS IRT, OS TRT). This study employed the O-NET scores of 1,500 grade 9 students in two subjects; Thai Language and English Language. The data were analyzed for correlation by Pearson’s correlation coefficient, Paired t-test, and the effectiveness of the linking by the bias SEE and RMSE. Results were that; 1. The item parameters (discrimination, difficulty, and guessing) of both Thai and English languages by IRT and TRT were significantly correlated (p<.01), while the ability parameters were found significant correlation only in English language (p<.01). 2. The standard error of the item parameters (discrimination, difficulty, and guessing) and the ability parameters by IRT and TRT were significantly different only in English language (p<.05), while Thai language it was found significantly different only in difficulty parameter (p<.05). 3. The effectiveness of linking of both true and observed scores with TS IRT and TS TRT were found to be least bias with TS TRT, least SEE with OS TRT, and least RMSE with OS IRT. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น