กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7044
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.advisorพงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.authorภูชิศ สถิตย์พงษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:38Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:38Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7044
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบการสอน 3) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 4) เปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างความรู้ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านระบบการสอน 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ระบบการสอน และ 6) ประเมินรับรองระบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านหลักสูตรการสอน หรือด้านการสอนสังคมศึกษา จำนวน 11 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดพฤติกรรมการสร้างความรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนต่อระบบการสอน และ 5) แบบประเมินรับรองระบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 /E2 t-test (Dependent samples) ผลจากการวิจัย พบว่า 1. ระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบท 2) การวิเคราะห์และกำหนดปัจจัยนำเข้า 3) การเตรียมความพร้อม 4) การจัดกิจกรรมการสอน 5) การประเมินผล 6) การสรุปผลผลการสอน 7) ผลผลิต และ 8) การตรวจสอบและปรับปรุงระบบ 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอน E1 /E2 เท่ากับ 84.06/84.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 ฉ 3. นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนผ่านระบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. พฤติกรรมการสร้างความรู้ของนักเรียนหลังเรียนผ่านระบบการสอนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลองในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบการสอนอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 6. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subjectภูมิศาสตร์ -- การสอนด้วยสื่อ
dc.subjectระบบการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subjectอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.subjectภูมิศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.titleการพัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
dc.title.alternativeDevelopment of geogrphy ubiquitousinstructionl system for lower secondry eduction in Lower Northestern Thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to develop the Geography Ubiquitous Instructional System (GUIS) for lower secondary education in lower Northeastern, Thailand; 2) to study the developmental testing of the instructional system; 3) to study the students learning progress;4) to compare knowledge creation behaviors for pre- and post- learning; 5) to study students’ satisfaction toward the instructional system; and 6) to assess and certify the instructional system from the educational experts. This is an research and development study. The samples used in the study were 1) 11 educational technology and instructional design specialists; 2) 32 lower secondary school students studying schools in lower Northeastern, Thailand. Multistage random sampling technique was applied to identify participants in this study. The research instruments included: 1) the system prototype; 2) an achievement test; 3) an assessment form for evaluating the students’ knowledge behavior creation; 4) students’ satisfaction questionnaire; and 5) assessment and verification forms for the educational experts. The data was analyzed by the use of Percentage, Means, Standard Deviation, E1 /E2 and t-test (Dependent samples). Major Findings: 1. The Geography Ubiquitous InstructionalSystem for lower secondary education in lower Northeastern, Thailand comprises of 8 components: 1) Context analysis; 2) Input factors analysis; 3) Preparation; 4) Instructional activities; 5) Evaluation; 6) Teaching summary; 7) Results; and 8) Adjustment 2. The developmental testing result of the instructional system E1 /E2 was 84.06/84.17 which meets 85/85 or the criterion being set. ซ 3. The students’ achievement progress was statistically significant at .01 level. 4. The mean of enhanced knowledge creation increases for overall and in separated also increases statistically of significant at the .01 level. 5. The students’ satisfaction toward the instructional system was high level. 6. The assessment and verification of the instructional system were highly appropriate by the educational experts.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น