กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7042
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.advisorจันทร์ชลี มาพุทธ
dc.contributor.authorพัชรินทร์ รุจิรานุกูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:37Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:37Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7042
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 400 คน โดยสุ่มแบบ หลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบเพื่อทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการพัฒนาแผนการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความรักและศรัทธา ในวิชาชีพ ด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพ ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ส่วนลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านการมีวินัย เมื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา จำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามชั้นปีและผลการศึกษาโดยรวมไม่แตกต่างกัน 2. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 กระบวนการ ได้แก่ การเตรียม ความพร้อมสู่การเรียนรู้ สุนทรียสนทนา การสะท้อนการเรียนรู้ การฝึกทบทวนความรู้ด้วยตนเอง และการทบทวนความรู้ด้วยการจดบันทึก เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการเรียนรู้
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subjectนักศึกษาครู
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏ -- นักศึกษา
dc.titleการพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
dc.title.alternativeThe development of contempltive eduction lerning plns for enhncing students’ desirble chrcteristics in the fculty of eduction, Rjbht Universities
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study and compare the desirable characteristics of students from Rajabhat Universities, and develop learning plans based on contemplative education in order to enhance the desirable characteristics of the students from Rajabhat Universities. The sample comprised of 400 undergraduate students from the faculty of education in Rajabhat Universities. The sample was selected by multi-stage sampling method, while the tool used was desirable characteristics test. The data was analyzed by percentage, frequency, mean, standard variation, parametric statistics, t-test, one way- ANOVA. The development of learning plans to promote the desirable characteristics was conducted in line with contemplative education. The experimental group consisted of 30 students while the control group consisted of 30 students. The members were selected by simple random sampling. The data was analyzed by percentage, frequency, mean, standard deviation, parametric statistics, t-test, and content analysis. The research revealed that: 1. The desirable characteristics of the students from Rajabhat Universities were high holistically. While the characteristics were ranked in descending order, it could be arranged as the characteristic of love and belief of teaching profession, responsibility on teaching profession, being role models and appropriate behaviors, appropriate living, and the last one was being disciplined. The comparison of the desirable characteristics classified by sex revealed the statistically significant difference at .05, while classified by years of study and educational results showed no difference. 2. The development of learning plans based on contemplative education to promote desirable characteristics of the students from Rajabhat Universities was conducted through 5 stages as follows: check-in, dialogue, learning reflection, check-out, and journaling. The comparison of the experimental and control groups found the statistically significant difference at .05.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf16.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น