กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/703
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาการลดสีน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยวิธีทางชีวภาพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of biological decolorization of palm oil mill effluent |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิวัฒน์ ห่อเพชร พรพรรณ วิศาวรรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | จุลินทรีย์ - - การใช้ประโยชน์ น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกำจัดสี น้ำเสีย - - การบำบัด - - วิธีทางชีวภาพ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากการคัดเลือกเชื้อราที่มีความสามารถในการลดสีน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 10 สายพันธุ์ พบว่าเชื้อราทุกสายพันธุ์สามารถเจริญได้ดีที่สุดที่ระดับความเจือจาง 1:3 และสามารถผลิตเอนไซม์แลคเคสได้ในอาหารคัดเลือก โดยเชื้อราสายพันธุ์ SU-4 มีขนาดโคโลนีใหญ่ที่สุด เมื่อทดสอบที่สภาวะให้อากาศ พบว่า เชื้อราสายพันธุ์ SU-4 สามารถเจริญได้สูงสุด ผลิตเอนไซม์แลคเคสได้ 12.26 U/ml ลดปริมาณฟีนอลได้ 3.37 mg/l ลดค่าสีได้ 758.2 unit และลดค่าซีโอดีได้ 37.24% ในขณะที่สภาวะไห้อากาศ เชื้อราสายพันธุ์ SU-4 สามารถเจริญได้สูงสุดที่สุด ผลิตเอนไซม์แลคเคสได้ 11.96 U/ml ลดค่าสีได้ 911.02 unit และลดค่าซีโอดีได้ 40.39% แด่เชื้อราสายพันธุ์ SU-3 สามารถลดปริมาณฟีนอลได้สูงสุด (3.00 mg/l) โดยความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเอนไซม์แลคเคสและความสามารถในการลดสีมีค่าเท่ากับ 0.78 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/703 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น