กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7038
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorเกียรติศักดิ์ แสนอ้วน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:36Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:36Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7038
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอ สอยดาว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-608) ได้กลุ่มตัวอย่าง 92 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 ข้อ โดยมีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .80-.90 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .85 และแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำนวน 24 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .70-.76 และค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ .74 ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Xˉ )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัย พบว่า 1. การใช้อำนาจการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านอำนาจอ้างอิง ด้านอำนาจการให้รางวัล ด้านอำนาจตามกฎหมาย ด้านอำนาจเชี่ยวชาญ และด้านอำนาจการบังคับ ตามลำดับ 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า ด้านความต้องการสัมพันธ์ และด้านความต้องการดำรงชีวิต ตามลำดับ 3. ผลการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอำนาจการให้รางวัล ด้านอำนาจการบังคับ ด้านอำนาจตามกฎหมาย และด้านอำนาจเชี่ยวชาญ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านอำนาจอ้างอิง มีความสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างครูและอาจารย์ใหญ่
dc.subjectครูมัธยมศึกษา -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
dc.title.alternativeThe relthionship between using power of school dministrtors with job motivtion of secondry school techer in soi do district, Chnthburi province, under the secondry eductionl service re office 17
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationship between the use of power of school administrators and job motivation of secondary school teacher in Soi dao district, Chanthaburi province, under the Secondary Educational Service Area Office 17. The samples used in this research were 92 secondary school teachers in Soidao district, Chantaburi province under the Educational Service Area Office 17 selected via simple random sampling according to Sample Size Determination proposed by Krejcie and Morgan table (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608). The research instrument was a 5-rating-scale questionnaire about the use of power of school administrators with 35 items, the discrimination power was from .80 -.90, and the overall reliability of .85. The other questionnaire used in the same pattern asked questions about JOB MOTIVATION of Secondary School Teachers with 24 items, the discrimination power was from .70 -.76, and the overall reliability of .74. The statistical analysis was to find the Mean (Xˉ ), Standard Deviation (SD), and Pearson’s Correlation Coefficient. The findings were as follows: 1. The use of power of administrators of secondary school in Soi dao district, Chantaburi province, under the Secondary Educational Service Area Office 17 was generally and individually at a high level. The mean was descending from high to low as the follows: referent power, reward power, legitimate power, expert power, and coercive power. 2. The job motivation of teachers in secondary schools in Soidao district, Chantaburi province under the Educational Service Area Office 17, in all aspects was rated at a high level descending from high to low as follows: growth needs need, relation needs, existence needs. 3. The relationship between the use of power of school administrators with job motivation of secondary school teachers in Soi dao district, Chanthaburi province, under the Secondary Educational Service Area Office 17 was in a high level with statistical significance at the level of .05. Individual aspect, Reward Power, Coercive Power, Legitimate Power, and Expert Power were found, with statistical significance at the level of .05, excluding Referent Power which was at a medium level, with statistical significance at the level of .05.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น